Posted on

อย. คืออะไร, อย.วอส คืออะไร สารเคมี/ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ และกรมประมง คืออะไร

LOGO อย
LOGO สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

   

มาชี้แจงกันให้เข้าใจ  อย. คืออะไร ทำไมต้องมี อย. ?

   ในฐานะที่ผมเป็นผู้นำเข้า และผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือสนับสนุนงานทางการแพทย์ โรงพยาบาล คลีนิคทันตกรรม และเครื่องฆ่าเชื้อโรค ฯลฯ  ทีนี้ด้วยความตระหนก กลัวการระบาดของโรค COVID-19 ระลอก 2 พรรคพวกเพื่อนฝูง พี่น้อง และลูกค้าหลายๆ ท่าน ก็เลยมารุมถามผมกันมากมายว่า ถ้าคิดจะซื้อเครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อโรค แล้วจะต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคแบบไหน เด๊ทตอลมงกุฏใช้ได้มั้ย แอลกอฮอล์ใช้พ่นได้มั้ย น้ำยาฆ่าเชื้อโรคนั้นต้องเป็นแบบมี อย. หรือรายงานการรับรองอะไรบ้าง โอ๊ย…!!  ถามกันเป็นชุดเลย  ผมก็เลยตัดสินใจรวบรวมเรื่องราว เขียนให้อ่านเลยดีกว่า ว่าน้ำยาที่ใช้ต้องมี อย.แบบไหน อย.ขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบัน? อย.วอส.? หรือ สารเคมี/ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจดแจ้งกรมปศุสัตว์ ใช้ในฟาร์มสัตว์บก  จดแจ้งกรมประมง ใช้กับสัตว์น้ำ ? 

มาๆ ถ้าใครอยากจะรับเรื่องยาวๆ มีสาระน่ารู้ แต่อ่านไม่เครียด ก็ตามมาครับ

       เริ่ม !!  อย. คือ อักษรย่อของ “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา” ภาษาฝรั่งก็ Food and Drug Administration  ตัวย่อฝรั่งก็ FDA  เป็นส่วนราชการของไทยในระดับกรม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการ ดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ( ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และ เครื่องสำอางค์ )โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์

หน้าที่ของ “อย.”

อย. มีหน้าที่กำกับและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ และมีหน้าที่ตามกฎหมายดังนี้

  1. ดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  2. กำกับดูแล และตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาด รวมถึงคำโฆษณาผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
  3. ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ผู้ประกอบการ
  4. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาดและการโฆษณาผลิตภัณฑ์
  5. เฝ้าระวังปัญหาหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้น
  6. ส่งเสริมผู้บริโภคให้มีความรู้และศักยภาพในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างปลอดภัย คุ้มค่า
  7. ส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่าย
                           เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ PHILIPS UVC Air Disinfection Unit

ผลิตภัณฑ์ประเภทไหนถึงจะต้องมี “เครื่องหมาย อย.” ?
       กฎหมายระบุให้ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมาขอขึ้นทะเบียน หรือ ขอจดแจ้งผลิตภัณฑ์ก่อนผลิต/นำเข้า/จำหน่าย เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในเบื้องต้น และเมื่อได้รับการอนุมัติจาก อย. แล้ว จึงจะนำออกวางจำหน่ายในท้องตลาดได้ อย่างไรก็ตามการขออนุญาต ในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้คือ
ยา : ผลิตภัณฑ์ยาทุกชนิดบนฉลากจะไม่มีเครื่องหมาย อย.  แต่จะต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับยา โดยลักษณะของกลุ่มตัวเลขแรกคือ ประเภทของทะเบียน

      ตำรับยาจะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ แล้วตามด้วยเลขทะเบียนตำรับยา (ของแต่ละตำรับยา) /ปี พ.ศ. เช่น ทะเบียนยาเลขที่ 1A 324/50เป็นต้น โดยประเภทของทะเบียนตำรับยาเช่น 1A: ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ (แผนปัจจุบัน) (ยาเดี่ยว) 2B: ยามนุษย์แบ่งบรรจุ (แผนปัจจุบัน)(ยาผสม) เป็นต้น
อาหาร : ผลิตภัณฑ์อาหาร จะเรียกเครื่องหมาย อย.ที่แสดงบนฉลากว่าเลข สารบบอาหาร ซึ่ง “ เลขสารบบอาหาร ” คือ เลขประจำตัวผลิตภัณฑ์อาหาร จะเป็นตัวเลข 13 หลัก แสดงอยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย.

ตัวอย่างเช่น เครื่องหมาย อย. ที่เราเห็นอยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปนั้น ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ อาหารที่จะได้รับ อย. นั้น ส่วนใหญ่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิต การสุขาภิบาลโรงงาน การบำรุงรักษาและทำความสะอาด และบุคลากรการผลิต นั่นคือ เป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร หรือ จี.ดี.พี. (Good Manufacturing Practice) นั่นเอง นอกจากนั้น ต้องผ่านในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุและการแสดงข้อมูลบนฉลากว่าครบถ้วนไม่โอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด อาหารนั้น จึงจะได้รับเครื่องหมาย อย. เป็นสัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่มีภาชนะบรรจุปิดสนิท รับผิดชอบโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ตัวอย่างเครื่องหมาย อย.
       รูปแสดงตัวอย่าง เลข อย. 13 หลัก

ความหมายของตัวเลข อย. ทั้ง 13 หลัก
กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยตัวเลข 2 หลัก หมายถึงจังหวัดที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารหรือนำเข้าอาหาร โดยใช้ตัวเลขแทนอักษรย่อของจังหวัด เช่น 12 หมายถึง จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยเลข 1 หลัก หมายถึงสถานะของสถานที่ผลิตอาหารหรือนำเข้าอาหารและหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต

หมายเลข 1 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 2 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่ จังหวัดเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 3 หมายถึง สถานที่นำเข้าอาหาร ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข4 หมายถึง สถานที่นำเข้าอาหารที่จังหวัดเป็นผู้อนุญาต
กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยเลข 5 หลัก หมายถึง เลขสถานที่ผลิตอาหารหรือเลขสถานที่นำเข้าอาหารที่ได้รับอนุญาต และปี พ.ศ. ที่อนุญาต โดยตัวเลข 3 หลักแรกคือ เลขสถานที่ผลิตหรือนำเข้าอาหารแล้วแต่กรณี ส่วนตัวเลข 2 หลักสุดท้าย คือ ตัวเลขสองหลักสุดท้ายของปี พ.ศ. ที่ได้
กลุ่มที่ 4 ประกอบด้วยเลข หนึ่งหลัก หมายถึง หน่วยงานที่ออกเลขเอกสารระบบอาหาร ดังนี้
1 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารระบบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารระบบจากจังหวัด
กลุ่มที่ 5 ประกอบด้วยเลข สี่หลัก หมายถึง ลำดับที่ของอาหารที่ผลิต หรือนำเข้า ของสถานที่แต่ละแห่ง แยกตามหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต
นอกจากนี้การแสดงเลขสารระบบ อาหารในเครื่องหมาย อย. ยังกำหนดให้ใช้ตัวเลขที่มีสีตัดกับสีพื้นของกรอบ มีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร และสีของกรอบตัดกับสีพื้นฉลาก

มีคนถามคำถาม แทรกมานิดนึง : การนำเข้า หรือการผลิตเครื่องมือแพทย์ ในประเทศไทย ต้องได้รับอนุญาตจาก อย. หรือไม่คะ

คำตอบ: การจะนำเข้าเครื่องมือแพทย์ หรือผลิตเครื่องมือแพทย์ ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562  ต้องได้รับการอนุญาตจาก อย.ด้วยครับ โดยผู้ดูแลตรงนี้คือ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ (จะเขียนบทความเรื่อง นำเข้าเครื่องมือแพทย์ง่ายนิดเดียว ในบทต่อไปครับ)

เอ้า !! นอกเรื่อง กลับมาเรื่องเครื่องหมาย อย.กันต่อ

เครื่องหมาย อย.” ตรวจเช็คได้ที่ไหน?? มาดูกัน

อย.คืออะไร
  อย. คืออะไร (ไม่ใช่อะหย่อยนะ)

         จากรูปด้านบน เราพอจะแยกประเภทผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ต้องมีเลข อย. หรือเลขที่จดแจ้งแล้ว ทีนี้เราต้องรู้ว่า ไอ้เลข อย. เนี่ยเราจะตรวจเช็คความถูกต้องยังไง?  อย่างแรกคือ เราสามารถนำเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่จดแจ้งบนผลิตภัณฑ์ไปตรวจเช็คได้ในเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ ระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ หรือในเว็บไซต์อย. ที่ ตรวจเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทีนี้บางคนบอกว่าโคตรยุ่งยาก เสียเวลาเลย ทาง อย. เขาก็เลยทำ ORYOR Smart Application แอปพลิเคชั่น โคตรเทพให้เรา Download ไปใช้ฟรี ๆ ทั้งระบบ iOS และ Android เลย เมื่อ Download และติดตั้งเสร็จการเปิดใช้ก็ง่ายมาก เพราะมีฟังก์ชั่น “ตรวจเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ” โดยเฉพาะ เวลาเราจะตรวจสอบเราก็ใส่ให้ครบทั้งตัวอักษรและตัวเลข (ต้องใส่ให้ครบนะ ไม่งั้นเช็คไม่ได้) แต่ถ้าขี้เกียจสุดๆ ขี้เกียจจะ Download Apps ก็สามารถโทรเช็กได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือแอดไลน์ @FDAthai ก็ตรวจสอบเลข อย. ได้เหมือนกัน (แต่ผมว่า ถ้าคุณขี้เกียจมาจนถึงขั้นโทรนี่ คุณคงไม่โทรเช็คกันแล้วล่ะ)

ถ้าเลข อย. ตามที่เราเช็คใน Application ต่างๆ ถูกต้อง ระบบจะแสดงรายการออกมา ซึ่งจะมีข้อมูลดังนี้

– ประเภทผลิตภัณฑ์
– ใบสำคัญ (เลข อย.)
– ชื่อผลิตภัณฑ์ไทย – อังกฤษ
– ชื่อผู้รับอนุญาต
– New Code (เลขอ้างอิงใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์)
– สถานะ (ข้อมูลจะแสดงเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่แสดงสถานะคงอยู่)

ทีนี้พอตรวจเช็คแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเลข อย. ที่เราเห็นนี้ไม่ได้ถูกสวมมาหลอก ๆ สิ่งแรกที่สามารถสังเกตได้ง่ายที่สุดจาก

  1. ชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. ชื่อการค้า (ยี่ห้อ)
  3. ชื่อผู้ประกอบการ (ผลิตโดย…) มีชื่อ มีสถานที่ผลิต ชัดเจน

     ทั้งสามชื่อนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกันบนตัวผลิตภัณฑ์  แต่!! การตรวจเช็คและการสังเกตทั้งหมดนี้ ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นจะเป็นของมีคุณภาพเสมอไป เพราะ “เครื่องหมายเลข อย.” หรือ “เลขที่จดแจ้ง” เป็นเพียงการมาจดแจ้งว่าจะผลิตผลิตภัณฑ์อะไร โดยมีส่วนประกอบอะไร หากไม่ผิดหลักเกณฑ์ ไม่มีส่วนผสมต้องห้ามก็สามารถจดได้ หลังจากนั้น อย. จะสุ่มตรวจภายหลังว่าสินค้านั้นทำตามที่จดแจ้งหรือไม่ (เท่ากับว่าหากเรายื่นผลิตภัณฑ์จดอย่างถูกต้อง แต่ภายหลังเราแอบใส่สารอะไรลงไปก็ได้ ตราบใดที่ อย. สุ่มตรวจไม่เจอ)

     เครื่องหมาย อย. เชื่อได้แค่ไหน?
    การที่มีเครื่องหมาย อย. หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้การผ่านเกณฑ์การตรวจสอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น แต่ผมอยากให้ทราบเพิ่มเติมมีดังนี้
1. ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นั้น ทาง อย. ไม่ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งหมด เจ้าของสินค้าจะยื่นข้อมูลส่วนประกอบ จากนั้น อย. เพียงแค่พิจารณาปริมาณส่วนผสมว่าปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
2. ส่วนประกอบที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ กับส่วนประกอบที่ยื่นกับ อย. อาจไม่ตรงกัน คือ จดอีกอย่าง ใส่จริงอีกอย่างอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งอันนี้ผู้ผลิตคิดไม่ซื่อแน่นอน ผิดกฏหมายด้วย ถ้าพบเจอสามารถแจ้งทาง อย. ได้เลย
3. การแพ้ผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องส่วนบุคคล อย. ไม่เกี่ยว ผู้บริโภคต้องพิจารณาจากส่วนผสมเอง

4.เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภค ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามฉลาก (โดยเฉพาะยา) และต้องพิจารณาการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณต่างๆ อย่าหลงเชื่ออะไรที่อวดอ้างเกินจริง

                                                   ตู้อบฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงรังสี UVC ” PHILIPS UVC Chamber “

ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. VS ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย.

    เคยสงสัยหรือไม่ ว่าทำไมขนมบางห่อมีเครื่องหมาย อย. แล้วทำไมยาสีฟันไม่เห็นมีเครื่องหมาย อย. แต่กลับอยู่ในผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมี อย. อ้าว งง !?..ไม่ต้อง..งงครับ เพราะผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทแบ่งตามเครื่องหมาย อย. เป็น ดังนี้

–  ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ยาฆ่าแมลง (อย. วอส)

   – ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย. ได้แก่ ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด เครื่องมือแพทย์ทั่วไป วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีเลขที่จดแจ้งหรือทะเบียนยากำกับบนผลิตภัณฑ์

** อย.วอส. อันนี้เจอในกลุ่มพวกน้ำยาทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ และยาฆ่าแมลง

     อย. แนะผู้บริโภค เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านเรือนที่มีฉลาก ระบุเลขทะเบียนวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข (วอส.) ในกรอบเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่รับแจ้งเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดบ้านเรือนให้ถูกประเภท และเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ควรอ่านฉลาก ให้ละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด

     ภก.ประพนธ์ อางตระกูลรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่า จากการที่มีข่าวในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้านเรือนผิดวิธี ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ หรือการนำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดไปแบ่งบรรจุลงในขวดน้ำดื่ม ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจผิด นำไปรับประทานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เกิดอันตรายต่อสุขภาพนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข มีความห่วงใยผู้บริโภค จึงขอแนะนำวิธีการเลือกซื้อและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านเรือนอย่างถูกวิธี โดยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ในบ้านเรือน ควรสังเกตฉลากที่มีการระบุรายละเอียด ดังนี้ชื่อและปริมาณสารสําคัญเลขทะเบียนวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข (วอส.) ในกรอบเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่รับแจ้ง วิธีใช้ สรรพคุณ คําเตือน วิธีการเก็บรักษา อาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษเบื้องต้น รวมทั้งระบุชื่อที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้นําเข้าหรือผู้จําหน่าย เป็นต้น

ส่วนการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านเรือน ควรเลือกใช้ให้ถูกประเภทกับสภาพความสกปรกของพื้นผิวเนื่องจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ในบ้านเรือน แบ่งออกเป็น 5 ประเภทตามส่วนประกอบของสารสำคัญ คือ

  1. ผลิตภัณฑ์ประเภทด่าง สามารถทำความสะอาดคราบไขมันหรือน้ำมัน คราบไคลประเภทโปรตีน เนื่องจากด่างจะทำปฏิกิริยากับไขมันกลายเป็นสารที่ละลายน้ำได้ จึงมักใช้ในการทำความสะอาดเตาอบ ขจัดการอุดตันท่อ และมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค
  2. ผลิตภัณฑ์ประเภทกรด ใช้สำหรับกำจัดการสะสมของคราบฝังแน่น เช่น คราบหินปูน คราบเหลือง คราบสนิม หรือการสะสมของแร่ธาตุที่มีในน้ำกระด้างที่มักพบในห้องน้ำ และมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค
  3. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมตัวทำละลายใช้ในการขจัดฝุ่นละอองบนพื้นหรือผิววัสดุต่าง ๆในบ้านเรือน เช่น เฟอร์นิเจอร์
  4. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารซักล้างใช้ในการทำความสะอาดคราบสกปรก ที่ล้างออกได้ง่าย เช่น บริเวณพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และใช้ในการล้างจานชาม
  5. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารฟอกขาว ใช้สำหรับขจัดคราบ ซักผ้าขาว และยังสามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้

         รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ผู้ใช้งานควรอ่านฉลากให้ละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด ขณะใช้ผลิตภัณฑ์ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากาก ถุงมือยาง และรองเท้ายางทุกครั้ง หลังใช้งานควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้ง ไม่ควรถ่ายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดลงในขวดเครื่องดื่ม หรือภาชนะบรรจุอื่น และควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ไม่วางผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารไวไฟ เช่น แอลกอฮอล์ไว้ใกล้กับแหล่งที่ให้เปลวไฟหรือความร้อน ไม่เผาภาชนะบรรจุที่เป็นสเปรย์อัดก๊าซ เนื่องจากอากาศที่เหลืออยู่ภายในอาจขยายตัว สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ เมื่อผลิตภัณฑ์มีการสัมผัสกับผิวหนัง ควรล้างออกทันที และหากเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด เพื่อแก้ไขอาการเบื้องต้น ถ้าจำเป็นให้นำผู้ป่วย พร้อมทั้งภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ไปพบแพทย์โดยเร็ว

สารเคมี/ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ และกรมประมง

     สารเคมีกลุ่มนี้ ได้รับ การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ด้านการปศุสัตว์ และประมง  โดยฝ่ายทะเบียนใบอนุญาตและมาตรฐานวัตถุอันตราย กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์ หรือ กรมประมง

     น้ำยาหรือ สารเคมีที่จดแจ้งกรมปศุสัตว์นั้น มันบอกชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นสารเคมี หรือผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ที่ใช้กับสัตว์ ใช้กับคอกสัตว์ ใช้ในโรงฆ่าสัตว์ ไม่ว่าจะพยายามใช้ Wording สวยหรูเปลี่ยนแปลงยังไง น้ำยาฆ่าเชื้อ สารเคมี ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย นั้นคือมันต้องใช้กับสัตว์ มาใช้กับคน หรือนำมาฉีดพ่นใส่คน หรือฉีดพ่นตามอาคารบ้านเรือน ออฟฟิศ ร้านค้า คอนโดมิเนียม สำนักงานไม่ได้ เขาให้ใช้กับคอกสัตว์ กรงสัตว์  ใช้ในบ่อปลา บ่อกุ้ง บ่อกบ ไม่อยากพูดเยอะมันชัดเจน ไปดูเอาละกัน

ระวัง! คำโฆษณาเกินจริง

     ฟังดูแล้วถึงผู้บริโภคอย่างเราจะมีช่องทางให้ตรวจสอบ แต่ก็ใช่ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะมีประสิทธิภาพเสมอไป แล้วเราจะทำอย่างไรดีล่ะ อย่างแรกจงจำให้ขึ้นใจว่า “โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม” โดยองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) มีข้อแนะนำป้องกันการหลอกลวงการโฆษณาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพตามนี้

– ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ารักษาโรคได้สารพัด เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สามารถรักษาโรคสมองฝ่อได้

– ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองจากบุคคลว่าใช้แล้วเห็นผลจริง เช่น ผลิตภัณฑ์นี้รักษาฉันให้หายจากโรคได้

– ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ามาจากธรรมชาติล้วน ๆ แต่ในความเป็นจริงไม่ได้แน่นอนเสมอว่าว่าวัตถุดิบจากธรรมชาติจะปลอดภัย เช่น เห็ดในธรรมชาติอาจมีพิษแฝงได้

– อย่าหลงเชื่อโฆษณาที่ใช้ข้อความว่า รักษาได้อย่างมหัศจรรย์ เป็นการค้นพบใหม่ เป็นการปฏิวัติทางการแพทย์

– การกล่าวอ้างถึงทฤษฎีสมคบคิดระหว่างบริษัทยาและรัฐบาล เพื่อปิดบังผลการวิจัยอันมหัศจรรย์ไว้เป็นความลับ

-ไม่ควรหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างว่าใช้แล้วเห็นผลในเวลาอันรวดเร็ว

     และอีกวิธีหนึ่งคือ เช็คเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่จดแจ้งกับคำโฆษณาว่าตรงกันหรือไม่ เช่น บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารจะพบการโฆษณาในเชิงบำบัด รักษา หรือบรรเทาโรค แต่ไม่พบทะเบียนตำรับยาบนผลิตภัณฑ์ กลับมีเครื่องหมาย อย. แทน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าสินค้านี้คือผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ใช่ยาวิเศษแต่อย่างใด

ช่องทางติดต่อ อย.

      ผมขอเน้นย้ำตรงนี้อีกครั้งว่า ผู้บริโภคอย่างเราสามารถตรวจเลข อย. ได้ด้วยตัวเอง แต่ !! เลขที่ออกมานั้นหวยจะตกอยู่ที่ใครก็คงเป็นเรื่องโชคลาภ วาสนา เพราะแม้นว่าจะตรวจสอบเจอเลข อย. ก็ใช่ว่าจะเป็นสินค้ามีคุณภาพเสมอไป ตามข่าวดังที่ได้ออกมาอยู่ช่วงหนึ่ง  ทั้งนี้ หากผู้บริโภคมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา E-mail : toxic@fda.moph.go.th กรณีผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ สามารถแจ้งร้องเรียนได้ตามช่องทางต่อไปนี้ เพื่อ อย. จะดําเนินการปราบปราม และดําเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทําความผิดต่อไป

  • สายด่วน อย. 1556
  • E-mail: 1556@fda.moph.go.th
  • ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004
  • ร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application
  • Line @FDAthai
  • เว็บไซต์กระทรวงสาธารณะสุข www.moph.go.th
  • เว็บไซต์ อย. www.oryor.com
  • สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

ข้อมูลอ้างอิง

  • ขอขอบคุณ เนื้อหาบทความ และรูปภาพบางส่วนจาก wongnai.com
  • ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : กองควบคุมยาและอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
  • ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • เพิ่มเติมข้อมูล บางส่วนโดย กัมปนาถ ศรีสุวรรณ

** สนใจสอบถามสินค้า จำหน่าย ติดตั้ง ซ่อม และบริการ ติดต่อ คุณกัมปนาถ T.097-1524554 id Line >> Lphotline

  • เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UV-C (ทั้งแบบเครื่อง UV-C Trolley และตู้อบ UV-C หรือ UVC-Desktop Disinfection) ผลิตภัณฑ์ Philips
  • พัดลมดูดอากาศ FFU แบบมีฟิลเตอร์ H13 HEPA (FAN FILTER UNIT) สำหรับ Fresh Air Intake ดูดอากาศสะอาดเข้าห้อง Clean Room
  • รับติดตั้ง ชุดหลอด UV-C ฆ่าเชื้อโรค พร้อม Sensor ตรวจการเคลื่อนไหว ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (LAB) ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room