Posted on

ทำอย่างไร? ถึงจะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน SHA

าตรฐาน SHA คืออะไร? และทำยังไงถีงจะได้ ตราสัญญลักษณ์ มาตรฐาน SHA มาติดร้าน

มาตรฐาน SHA คืออะไร? ร้านไหนดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้ ?

มาตรฐาน SHA คือ แนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานภาคสมัครใจสำหรับผู้ประกอบการ หรือข้อกำหนดเบื้องต้นที่สถานประกอบการพึงมี เพื่อป้องกัน COVID-19 ซึ่งมาจากมาตรการด้านสาธารณสุขบวกกับมาตรฐานของสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มีการจัดทำสัญลักษณ์ SHA เพื่อรับรองคุณภาพของสถานประกอบการนั้น ๆ โดยผู้ประกอบการต้องยื่นเรื่องขอผ่านสมาคม เช่น สมาคมโรงแรม เมื่อได้รับสัญลักษณ์แล้ว ผู้ประกอบการจะถูกประเมินโดยผู้ใช้บริการผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน รวมถึงมีการสุ่มตรวจจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นระยะอีกด้วย

รูป LOGO สัญลักษณ์ SHA

* SHA ย่อมาจากคำว่า Safety & Health Administration หากผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มจะเข้ารับการตรวจประเมินความพร้อมมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย SHA ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ thailandsha.com หรือสามารอ่านคู่มือเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือการลงทะเบียน Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA) และผู้ประกอบการจะต้องเคร่งครัดช่วงเวลาการให้บริการให้อยู่ภายในเวลา 21.00 น. ตามที่กำหนด

เบื้องต้นข้อมูลวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 จากข้อมูลพบว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีร้านที่ได้รับรอง SHA จำนวน 1,350 ร้าน ครับ แล้วสถานประกอบการ กิจการ อะไรบ้างล่ะ ที่ต้องได้รับมาตรฐาน SHA ?

ถานประกอบกิจการที่สามารถขอรับมาตรฐาน SHA ได้ มี 10 หมวด ดังนี้ครับ

1. ภัตตาคาร/ร้านอาหาร

2. โรงแรม/ที่พัก และสถานที่จัดประชุม

3. นันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยว

4. ยานพาหนะ

5. บริษัทนำเที่ยว

6. สุขภาพและความงาม

7. ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า

8. กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว

9. โรงละคร โรงมหรสพและการจัดกิจกรรม

10. ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่นๆ

ท่องเที่ยวปลอดภัยวิถีใหม่ มองหาสัญลักษณ์ SHA

อ่านแล้วมึนๆ !! พอจะมีตัวอย่างวิธีที่จะผ่านมาตรฐาน SHA หรือมีวิธีตรวจเช็ค อะไร ยังไง แนะนำมั้ย ?

กรมควบคุมโรค ได้ให้ความสำคัญใว้ 3 เรื่องหลักๆ ดังนี้ครับ ( ผม Copy จากของทางราชการ มาตรงๆเลย )

  1. สุขลักษณะอาคารและอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีอยู่ในอาคาร คือการปรับปรุงสถานที่ ทำความสะอาดอาคาร บริเวณโดยรอบ และบริเวณที่อาจมีการปนเปื้อนหรือบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ ด้วยน้ำยาทำความสะอาด และน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ เช่น พื้น ผนัง ประตู กลอนหรือลูกบิด ประตู ราวจับหรือราวบันได จุดประชาสัมพันธ์ จุดชำระเงิน สวิตซ์ไฟ ปุ่มกดลิฟต์ รีโมท การจัดอุปกรณ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค กำหนดให้มีการทำความสะอาดห้องส้วมและสุขภัณฑ์ทั้งหมดให้สะอาด เช่น โถส้วม ฝารองนั่ง ที่กดชักโครกหรือโถปัสสาวะ สายฉีดน้ำชำระ กลอนหรือลูกปิดประตู ก๊อกน้ำและอ่างล้างมือ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อสม่ำเสมอ มีส้วมพร้อมใช้งานตลอดเวลา เพียงพอและปลอดภัยแก่ ผู้ใช้บริการทุกเพศทุกวัย รวมถึงผู้พิการหรือผู้มีปัญหาด้านสุขภาพ การจัดให้มีระบบการระบายอากาศและถ่ายเทอากาศภายในอาคารที่เหมาะสม โดยทำความสะอาดระบบการระบายอากาศและถ่ายเทอากาศอย่างสม่ำเสมอ โดยทำความสะอาดระบบการระบายอากาศและถ่ายเทอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่นมีการนำเครื่องระบายอากาศ เครื่องฟอกอากาศเข้ามาช่วย และอาจมี การใช้เครื่องดูดละอองฝอยแรงดันสูง เข้ามาช่วย (สำหรับคลีนิคทันตกรรม)
  2. การจัดอุปกรณ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค เตรียมเจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% ขึ้นไป ไว้ในบริเวณพื้นที่ ส่วนกลางเช่น จุดประชาสัมพันธ์ ประตูทางเข้าออกหรือหน้าลิฟต์ บริเวณอ่างล้างมือและห้องส้วมต้องสะอาด และจัดให้มีสบู่ล้างมืออย่างเพียงพอ จัดเตรียมอุปกรณ์น้ำยาทำความสะอาดอาคาร น้ำยาฆ่าเชื้ออุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ เช่น น้ำยาทำความสะอาดพื้น น้ำยาล้างห้องน้ำ และเหล็กคีบด้ามยาวสำหรับเก็บขยะมูลฝอย เป็นต้น
  3. การป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อการรับสัมผัส เช่น พนักงานต้อนรับ พนักงานประชาสัมพันธ์ พนักงานยกกระเป๋า ลูกค้าสัมพันธ์ รวมถึงพนักงานทำความสะอาด เป็นต้น ต้องมีการป้องกันตนเอง โดยใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ทำความสะอาดมืออย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น และพนักงานทำความสะอาดต้องสวมถุงมือขณะปฏิบัติงาน หากผู้ปฏิบัติงานมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม เจ็บคอ มีน้ำมูกเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงานและเข้ารับการรักษาตัวในสถานบริการสาธารณสุข ต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือการใช้แอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมืออย่างสม่ำเสมอ ก่อนการปฏิบัติงาน หลังสัมผัส สิ่งสกปรก หลังจากถอดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และหลังจากปฏิบัติงานเสร็จ ควรจัดให้มีสื่อหรือป้ายแนะนำการล้างมืออย่างถูกวิธี บริเวณอ่างล้างมือหรือที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน พนักงานเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยต้องมีการป้องกันตนเองโดยสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย สวมถุงมือยาง ผ้ายางกันเปื้อน และใช้เหล็กคีบด้ามยาวเก็บขยะใส่ถุง มัดปากถุงให้มิดชิดรวบรวมไว้ที่พักขยะ และล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำหลังปฏิบัติงานทุกครั้ง มีการให้ความรู้ คำแนะนำ และเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์แก่ผู้ปฎิบัติงานจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์ หรือช่องทางให้ความรู้ในการป้องกันและการลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ เช่น วิธีการสังเกต ผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสCOVID-19 คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกวิธ

หลังจาก 3 ข้อหลักนี้ไป ก็จะเริ่มลึกลงไปในหมวดธุรกิจทั้ง 10 หมวด ว่าในแต่ละหมวดต่้องทำอะไรบ้างถึงจะผ่านมาตรฐาน SHE ถ้าอยากรู้ลึกๆ ผมได้ Copy Link ตัวอย่างเกณฑ์ตรวจสอบเพื่อประเมินมาตรฐาน (Checklist) ที่ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กำหนดมาใว้ตรงนี้ครับ สามารถกด ตาม Link นี้ https://www.thailandsha.com/checklist_example รับรองทำได้ตามนี้ ผ่านการประเมินได้ตรา มาแปะหน้าร้านแน่ๆ

สุดท้ายนี้ ผมขอให้ทุกท่านผ่านการประเมิน SHA ได้ตราสัญลักษณ์มาแปะหน้าร้านกันทุกๆคน และมีลูกค้าเข้าร้านกันเยอะๆ ครับ จะได้ลืมตาอ้าปาก ขดเชยที่เสียไปบ้าง

  • หากมีข้อสอบถามเรื่อง ระบบการฆ่าเชื้อโรคในอากาศภายในอาคาร และการปรับปรุงระบบระบายอากาศ การปรับปรุงคุณภาพอากาศ ปรึกษาพูดคุยกันได้ครับ ไม่เสียค่าใช้จ่าย มาแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ T.097-1524554 id Line: Lphotline

ตู้อบ UVC ฆ่าเชื้อโรค PHILIPS
เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบตั้งพื้น PHILIPS