Posted on

การฆ่าเชื้อโรคภายในอาคาร ด้วยการใช้รังสี UVC vs การอบโอโซน (O3)แบบไหนดีกว่ากัน

PHILIPS UVC Disinfection Wall Mounting

การฆ่าเชื้อโรคภายในอาคาร ด้วยการใช้รังสี UV-C กับ การอบโอโซน แบบไหนดีกว่ากัน

   ในวันนี้ แม้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเชื้อโควิด19 (COVID-19) จะทุเลาความรุนแรง ไม่หนักหนาสาหัสเหมือนเมื่อตอนปี พศ.2563 -2564 แต่ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่ต่างๆ ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญมาก มีผลต่อจิตใจ และการใช้ชิวิตประจำวัน ทุกวันนี้หลายๆ คนไม่มีความมั่นใจว่าความสะอาด และสุขอนามัยรอบตัว จะใว้ใจได้หรือไม่?  ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ทำงาน ห้องเรียนในโรงเรียน ห้องเรียนในมหาวิทยาลัย ห้องประชุมในที่ทำงาน ห้องทำงานในออฟฟิศ  โรงพยาบาล ฯลฯ  การทำความสะอาด จึงเป็นสิ่งสำคัญ เเต่ !! การทำความสะอาดอาคาร หรือสถานที่ต่างๆ เเบบการเช็ดถูทั่วไป วันนี้ไม่เพียงพอในการฆ่าเชื้อโรคซะแล้ว โดยเฉพาะเชื้อโรคเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ต่างๆ ที่รอวันเข้ามาร่วมดูแลสุขภาพของคุณ 

 ดังนั้น…เพื่อให้มั่นใจว่าอาคาร สถานที่ต่างๆ จะปลอดภัยปราศจากเชื้อโรค วันนี้เราจึงมีวิธีการป้องกัน เเละกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพ 2 เเบบมาฝาก สำหรับใช้เป็นข้อมูลเเละตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงอันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นอีกขั้นครับ

“ การฆ่าเชื้อโรคในอาคารและสถานที่ต่างๆ” ที่ได้ผลดีในปัจจุบัน นั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. การใช้รังสี UV-C
  2. การอบโอโซน

ทั้ง 2 วิธีการนั้นต่างกันอย่างไร? เราควรเลือกใช้วิธีการไหน?  

อาคารสำนักงาน สถานที่ราชการ โรงพยาบาล คุณคิดว่าควรจะใช้วิธีไหน เรามาช่วยหาคำตอบกันครับ

1. การใช้รังสี UV-C 

   รังสี UV-C  มีการใช้ในการฆ่าเชื้อโรคมานานแล้ว โดยสามารถฆ่าเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราได้ทั้งที่ล่องลอยในอากาศ ที่เกาะอยู่บนพื้นผิววัสดุ หรือแม้กระทั่งที่อยู่ในน้ำ (นิยมใช้รังสี UVC ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ทำให้น้ำสะอาด แต่การใช้เครื่องมือรังสียูวีซีฆ่าเชื้อโรคในน้ำต่างๆ เป็นอุปกรณ์พิเศษเฉพาะทาง ผู้เขียนจะกล่าวถึงในโอกาศต่อไป)  รังสี UV-C จะเข้าไปทำลายถึงชั้น DNA , RNA ของเชื้อโรค ทำให้เชื้อโรคนั้นเซลส์ถูกทำลาย และตายในที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เชื้อโรคโดนรังสี และความเข้มของรังสีด้วย 

    การฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตชนิด C หรือที่เรียกว่า UV-C นั้นไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เทคโนโลยีนี้ ถูกคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2435 หรือประมาณ 129 ปีแล้ว โดยการทดลองของ มาร์แชล วาร์ด (Marshall Ward) ที่พยายามหาวิธีกำจัดแบคทีเรียโดยการใช้รังสีดังกล่าว แต่เทคโนโลยีนี้เพิ่งเป็นที่รู้จักและเริ่มใช้งานกันอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล หลังมีการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือที่รู้เราจักกันดีในชื่อ โรคซาร์ส (SARS) ในช่วง พ.ศ. 2545 และโรคเมอร์ส (MERS) เมื่อ พ.ศ. 2555 

 UV-C คืออะไร

รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือ UV เป็นรังสีตามธรรมชาติที่อยู่ในแสงอาทิตย์ มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ UV-A, UV-B และ UV-C เราอาจจะคุ้นหูกับ UV-A และ UV-B เนื่องจากรังสีทั้ง 2 ชนิดนั้นสามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนมายังโลก และสามารถมาทำร้ายผิวของเราได้ (รังสี 2 ตัวนี้ วันนี้เราจะข้ามมันไปก่อน !) วันนี้ เราจะมาพูดถึง UV-C เพียงอย่างเดียวก่อน เพราะเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เรานำมาใช้ฆ่าเชื้อโรค เชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ในขณะนี้

UV-C คือรังสีอัลตราไวโอเลต ที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 200-280 นาโนเมตร เป็นรังสีที่โดยธรรมชาติปกติ จะไม่สามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนลงมายังโลกได้ เนื่องจากมีความยาวคลื่นที่สั้นกว่ารังสี UV-A และรังสี UV-B เนื่องจากรังสีทั้ง 2 สามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนมายังโลกและสามารถทำร้ายผิวกายของเราได้ ทำให้ก่อนหน้านี้เราจึงไม่ค่อยได้ยินชื่อ UV-C ในการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก เพราะเรามัวไปกังวลเรื่องรังสี UV-A, UV-B ที่มาทำลายผิวเราซะมากกว่า  แต่ในความจริงแล้ว รังสี UV-C นั้นกลับกลายเป็นรังสีที่มีบทบาทสำคัญในการฆ่าเชื้อโรค และในวงการการแพทย์อย่างมาก ด้วยความสามารถเฉพาะตัวของมันเอง เพราะมันมีพลังงานมากกว่า รังสี UV-A และ UV-B อย่างมากมาย และมันยังมีความสามารถในการทำลาย DNA และ RNA ของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและเชื้อโรคต่างๆ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส (แต่ฆ่าสปอร์ของเชื้อราไม่ดีเท่าไร) เมื่อเชื้อถูกทำลาย DNA ทำให้ เชื้อต่างๆ เหล่านี้พิการไม่สามารถขยายตัวต่อไปได้ และตายไปในที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปUV-C  ที่นำมาใช้ฆ่าเชื้อโรค ได้ถูกประดิษฐ์ออกมาเป็นหลอด UV-C Lamp ที่ความยาวคลื่น 253.7 nm (นาโนเมตร) ** (แต่ทำไมชาวบ้าน รวมๆ เรียกเหมาเป็น 254 nm ก็ไม่รู้) ไม่ว่าจะเป็นหลอดแบบ TUV T5,T8  หรือหลอด LED UV-C

                                                              ตู้อบฆ่าเชื้อโรคเครื่องมือแพทย์ ด้วยรังสียูวีซี PHILIPS

   

  ปัจจุบันมีผลการวิจัยมากมาย ทั้งจากสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาล พิสูจน์ได้ว่า UV-C มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% โดยเชื้อโรคเหล่านั้น มีตั้งแต่ ไข้หวัด 2009 (H1-N1) เชื้อวัณโรค (TB) สารก่อภูมิแพ้หอบหืด รวมถึงเชื้อก่อโรคโควิด-19 ที่กำลังเป็นโรคระบาดรุนแรงในปัจจุบัน ทั้งนี้ UVC สามารถฆ่าเชื้อโรคทั้งที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ บนพื้นผิวทั่วไป และในน้ำได้เป็นอย่างดี จึงมีข้อได้เปรียบกว่าการฆ่าเชื้อโรคแบบวิธีอื่นๆ เช่น การฉีดพ่นสารเคมี การเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ ทั้งในแง่ของความสะดวกในการใช้งาน การใช้เวลาทำความสะอาดเพียงไม่กี่นาที สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต่อครั้งต่ำ และที่สำคัญคือ ไม่ทิ้งสารเคมีที่เป็นอันตรายไว้หลังการใช้งาน จึงมีความปลอดภัยแก่ผู้ใช้

ล้อเลื่อนฆ่าเชื้อโรค PHILIPS UVC Trolley แบบชนิด 1 แขน มี Safety Sensor ตรวจจับความเคลื่อนไหว

      การใช้งานอุปกรณ์ UV-C ฆ่าเชื้อโรคภายในอาคาร ทำได้หลายวิธี 

     มีหลายวิธี ที่สามาถนำเอาแสงรังสี UV-C มาประกอบใช้งานให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการฆ่าเชื้อโรค ดังเช่น Philips ผู้นำด้าน UV-C ได้ทำออกมาดังนี้

  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C ไปติดบนเพดานห้อง หรือติดที่ฝาผนัง หรือเหนือประตู โดยวิธีนี้จะสามารถเปิดใช้งานแสงรังสี UV-C ให้ฉายไปทั้งห้อง เฉพาะในเวลาที่ไม่มีคน และสัตว์เลี้ยงอยู่ในห้อง เช่นการใช้อุปกรณ์ Philips UVC Batten (Open Fixture) ฉายแสงในห้อง หรือฉายจากเพดานลงสู่พื้น
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และพื้นผิววัสดุ โดยใช้ Philips UV-C Trolley ชุดล้อเลื่อน UV-C ฆ่าเชื้อโรค หรือ Philips UV-C Desktop Disinfection Lamp (Open Fixture)  ที่เคลื่อนย้ายไปมาตามจุดต่างๆ ในห้อง ของบ้านหรืออาคารได้ ตั้งเวลาฆ่าเชื้อโรค โดยทั้ง 2 อุปกรณ์นี้ ต้องเปิดใช้งานในเวลาที่ไม่มีคนหรือสัตว์เลี้ยง อยู่ในห้อง
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C ไปติดบนเพดานห้อง หรือติดที่ฝาผนัง หรือเหนือประตู โดยฉายแสงไปด้านบนของห้องให้ส่องขึ้น เช่นการใช้อุปกรณ์ Philips UV-C Upper Air Disinfection Ceiling Mounted และ UV-C Upper Air Wall Mounted ที่ออกแบบให้แสงรังสี UV-C สาดไปในอากาศ แต่มีครีบพิเศษ ทีี่ช่วยบังแสงด้านความปลอดภัย ไม่เข้าตา (Close Fixture) ทำให้เราสามารถอยู่ในห้องได้ แม้ขณะเปิดเครื่อง UV-C ให้ทำงาน
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C แบบปิด Philips UV-C Air Disinfection Unit (Close Fixture) รูปร่างคล้ายๆ เครื่องฟอกอากาศทั่วไป (แต่ไม่ใช่เครื่องฟอกอากาศ) นำไปตั้งบนพื้น ให้พัดลมดูดอากาศเข้ามาหมุนเวียนในห้องหมุนวนอากาศที่มีหลอด UV-C ติดตั้งอยู่ 4 หลอด แล้วให้อากาศไหลผ่านออกไป UV-C Air Disinfection Unit นี้ สามารถเปิดใช้งานได้แม้ขณะที่มีคนอยู่ในห้อง เหมาะสำหรับออฟฟิศ รถทัวร์ รถบัส รถ X-Ray เคลื่อนที่ และสถานที่สุ่มเสี่ยงการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ ที่มีคนอยู่มากๆ
  • การออกแบบ ขึ้นโครง และ นำหลอดไฟ UV-C ไปติดบริเวณหน้า AHU ของระบบปรับอากาศของอาคาร แบบนี้เหมาะสำหรับอาคารที่เป็นระบบ Air รวม จ่าย Air ไปทั่วทั้งตึก จะช่วยให้แผง AHU สะอาด ไม่เป็นเมือก และฆ่าเชื้อโรคในอากาศจากในอาคารที่ไหลเวียนกลับเข้ามายังห้อง AHU ทำให้อากาศสะอาด และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า
  • ฆ่าเชื้อบริเวณพื้นผิว (Surface Disinfectant) เอกสาร สิ่งของ สร้อยคอทองคำ แหวน นาฬิกา เครื่องประดับ กุญแจ โทรศัพท์มือถือ อาหารแห้ง ขวดนมลูก ยา ตลอดจนภาชนะต่างๆที่ใช้ใส่อาหาร โดยใช้ตู้อบ UV-C Chamber (Close Fixture)  ใส่สิ่งของต่างๆ ที่แห้ง ไม่เปียกน้ำ ใส่เข้าไปในตู้ ตั้งเวลาที่กำหนด เมื่อครบเวลาตาม Contact Time ก็นำออกมาใช้ได้ ไม่มีความร้อน
  • ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ในของเหลว ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม น้ำผลไม้ ฆ่าเชื้อโรคในน้ำตู้เลี้ยงปลา อันนี้ UV-C จะถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุพิเศษที่ทนทานต่อรังสี UV-C แต่ไม่บดบังการเปล่งแสง และสามารถกันน้ำได้
                                            ตัวอย่างการติดตั้ง ระบบฆ่าเชื้อโรคในอากาศส่วนบนชนิดติดฝาผนัง PHILIPS

สรุปได้ว่า UV-C จัดเป็นเทคโนโลยีสำหรับการฆ่าเชื้อโรคที่มีข้อดี/ข้อได้เปรียบ คือ ราคาถูก มีราคาย่อมเยา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง ลงทุนน้อย ฆ่าเชื้อโรคได้เกือบทุกชนิด ประหยัดพลังงาน ยกระดับคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor air quality) ลดมลพิษในอากาศ เช่น สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds, VOCs) ซึ่งบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ และยังสามารถใช้ได้หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย (Residential building) ไปถึงอาคารพานิชย์ (Commercial building) โดยเฉพาะ โรงพยาบาล โรงแรม โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ยา และวัคซีน เป็นต้น จึงเหมาะสำหรับหน่วยงานที่งบประมาณน้อย ได้เข้าถึงเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพได้   

    ปัจจุบัน พศ.2566  นิยมใช้เครื่อง UVC ฆ่าเชื้อโรคในโรงพยาบาล)  ดังเช่นระบบฆ่าเชื่อโรคในอากาศ และพื้นผิวด้วยรังสี UVC จาก PHILIPS ( หลอด UVC ของ PHILIPS เป็นที่รู้จัก และยอมรับ มานานกว่า 35 ปี ) ณ วันนี้ ผลิตภัณฑ์เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC จาก PHILIPS ได้ส่งมอบ และติดตั้งให้กับโรงพยาบาล และศูนย์การแพทย์ชั้นนำในประเทศไทยอย่างมากมาย รวมถึงในโรงเรียน และมหาวิทยาลัย อีกด้วย 

2. การอบ Ozone

ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรารู้ว่าโอโซนเป็นก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนพื้นผิว โลกและในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นไป ที่เรียกว่าLower Stratosphere ในระดับความสูง 14.4-30.4 กม. จากพื้นพิวโลก ก๊าซออกซิเจนมีออกซิเจนอะตอมอยู่รวมกัน 2 อะตอม (O2) ในขณะที่ในรูปของโอโซน มีอยู่ 3 อะตอม (O3) โอโซนมีประโยชน์และมีโทษขึ้นอยู่กับแหล่งที่เกิดโอโซนตามธรรมขาติ เป็นก๊าซที่ไม่คงรูป จะมีการเปลี่ยนแปลงกลับไปอยู่ในสภาพของก๊าซออกซิเจนในช่วง 10-20 นาที

เป็นที่น่าสังเกตว่าสภาพอากาศที่แจ่มใสหลังจากเกิดพายุฝนฟ้าคะนองส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจาก โอโซนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการผลิตก๊าซโอโซน โดยกระแสไฟฟ้า แรงสูงผ่านอากาศที่มีก๊าซออกซิเจน ทำให้โมเลกุลของออกซิเจนแตกตัวเป็นออกซิเจนอะตอม (O) และรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนเป็นโอโซนมีสภาพเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไปจนถึงมีสีน้ำเงิน มีกลิ่นฉุน

      คุณสมบัติของโอโซน

โอโซนจัดเป็นตัวออกซิไดส์ (oxidizing agent) ที่แรงที่สุดที่อนุญาตให้นำมาใช้ประโยชน์ ในปัจจุบัน โดยมีฤทธ์สูงกว่าก๊าซคลอรีนถึง 51% และมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ ได้เร็วกว่า 3.125 เท่าตัว สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในเยื่อเมมเบรนของแบคทีเรียเมื่อทำปฏิกิริยากับโอโซนทำ ให้ผนังเซลล์อ่อนแอและแตกออก ทำให้เซลล์ตาย โอโซนสามารถเกิดปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ ส่วนใหญ่รวมทั้งสารอนินทรีย์ ทำให้เกิดการแตกตัวและสลายตัวในกระบวนการสลายตัวทางชีวภาพ ได้ง่าย สารอินทรีย์บางชนิดทำปฏิกิริยากับโอโซนอย่างสมบูรณ์ได้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ โอโซนสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส สปอร์ ราเมือก ราน้ำค้าง เชื้อรา อะมีบา และเชื้อที่อยู่ ในรูปของถุงน้ำ ตามปริมาณความเข้มข้นและระยะเวลาที่ใช้ต่างกัน

รูปแสดงคุณสมบัติ ของโอโซน

มีการจำแนกโอโซนเป็น oxidising biocide ใน L8 มีรายงานผลการทดสอบอย่างเป็นทางการของ Department of Environment ในคุณสมบัติที่เป็นไบโอไซด์ (biocide) โดยไม่มีความจำเป็น ในการใช้สารไบโอไซด์ (biocide) ชนิดอื่นๆ มาประกอบการใช้มีการใช้ประโยชน์โอโซนในการกำจัด เชื้อโรคในน้ำที่นำมาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2447 ในปัจจุบันยังมีการเทคโนโลยี เครื่องผลิตโอโซนมาใช้ประโยชน์ในวัตถุประสงค์เดียวกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในการกำจัด คราบแบคทีเรียและ อะมีบาในระบบทำความเย็นด้วยน้ำ ทั้งนี้มีการควบคุมปริมาณและความเข้มข้น ของโอโซนที่ใช้ ในสภาพแวดล้อมต่างๆขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ อุณหภูมิ และอัตราการหมุนเวียนของน้ำ ในระบบ

เครื่องผลิตโอซน สำหรับใช้ในอาคาร

​      อันตรายของโอโซน

​      โอโซนจัดเป็นก๊าซพิษ การมีปริมาณโอโซนสูงมากผิดปกติ ในบางพื้นที่น่าจะเป็น ผลเสียต่อ สุขภาพมากกว่าที่จะเป็นผลดี มีการกำหนดเกณฑ์ปริมาณความเข้มข้นสูงสุดที่ได้รับโดยเฉลี่ยไม่เกิน 0.1 ppm ในช่วงระยะเวลาของการทำงานนาน 8 ชั่วโมง

อันตรายจากการได้รับโอโซนเป็นประจำอาจจะเป็นอันตรายต่อปอด โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ปอด กำลังพัฒนา อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบสืบพันธุ์และพันธุกรรม อาจจะเป็นอันตรายต่อเด็ก ในครรภ์ ทำให้เกิดโรคปอดกำเริบ เช่น กลีบปอดพองลม และโรคหลอดลมอักเสบ ทำให้ภูมิคุ้มกันใน ระบบหายใจลดลง อาการหอบหืดและโรคหัวใจกำเริบ ลดปริมาณลมหายใจ รวมทั้ง ทำให้ปริมาณของ เหลวในปอดเพิ่มขึ้นทำให้หายใจขัด ก๊าซโอโซนทำให้เกิดอาการระคายเคือง ในระบบหายใจ ทำให้ไอ ระคายคอหรือแน่นหน้าอก ปวดศีรษะ ท้องเสีย แน่นท้อง มีอาการป่วย และอาเจียน การสัมผัสโอโซน ที่อยู่ในสภาพของเหลวที่มีความเข้มข้นสูงที่ผิวหนังหรือดวงตา อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง อาการไหม้รุนแรง ปวดแสบปวดร้อน

  **  การอบโอโซนในบ้าน ในอาคาร **

โอโซน หรือ o3 ก๊าซโอโซน คือ ก๊าซออกซิเจนในสถานะพิเศษที่มีโครงสร้าง 3 อะตอม เกิดจากโมเลกุลออกซิเจนได้รับพลังงานจากแหล่งพลังงาน เช่น ฟ้าผ่า แสง UV โคโรน่าดิสชาร์จ จึงเกิดการแตกตัว และรวมเป็น  3  อะตอม ซึ่งจะคงสภาพอยู่ได้ประมาณครึ่งชั่วโมง

       คุณสมบัติในการขจัดเชื้อโรค

เมื่อก๊าซโอโซนไปจับกับตัวเชื้อโรคจะเกิดการแตกตัวเป็น O + O2 และออกซิเจนอะตอมนี้เองที่จะเข้าไปทำลายผนังเซลล์ ทำให้เชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียสลายไป ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่เจ้าหน้าที่ทำการปล่อยโอโซนอบไว้ในห้อง 2-3 ชั่วโมง แม้ว่าโอโซนจะเป็นรูปแบบหนึ่งของออกซิเจน และมีสภาพเป็นพิษเมื่อมีความเข้มข้นมากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลิตรในอากาศ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ปิดเครื่องผลิตโอโซนและปล่อยห้องทิ้งไว้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง โอโซนภายในห้องจะสลายจาก O3 เป็น O2 จึงรับรองว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยเเน่นอนครับ

      ขั้นตอน

เจ้าหน้าที่ประเมินหน้างาน อาจทำความสะอาดเบื้องต้นก่อนหรือไม่ก็ได้ จากนั้นจะทำการปล่อยโอโซนอบไว้ในห้องเพื่อฆ่าเชื้อ โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง และปล่อยทิ้งไว้อีก 1 ชั่วโมงเพื่อรอให้โอโซนสลายตัว จึงสามารถใช้งานห้องนั้นต่อได้ทันที
ค่าใช้จ่าย
ตารางเมตรละ 20-50 บาท สามารถเริ่มต้นในพื้นที่เล็ก ๆ ได้

       ระยะเวลาปลอดเชื้อ

เชื้อในห้องจะตายหมดหลังการอบ แต่เนื่องจากโอโซนจะสลายไปจนหมดภายในเวลา 0.5-1 ชั่วโมง ทำให้เชื้ออาจกลับเข้าสู่ภายในห้องได้ใหม่ การอบโอโซนจึงเหมาะกับพื้นที่ส่วนตัวที่ไม่พลุกพล่าน เช่น ออฟฟิศขนาดเล็ก หรือบ้านเรือนที่พักอาศัยส่วนตัวมากกว่า เพราะสามารถควบคุมการใช้งานได้ดีกว่าพื้นที่ขนาดใหญ่หรือพื้นที่สาธารณะ

          ข้อดี

  • ไม่มีสารตกค้าง จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาว
  • ไม่จำเป็นต้องเก็บห้องเพื่อเตรียมอบโอโซน
  • สามารถทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ
  • ราคาย่อมเยา

          ข้อสังเกต

  • โอโซนสลายไปอย่างรวดเร็วหลังเสร็จสิ้นขั้นตอน
  • ไม่เหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่
‘งานติดตั้งระบบ UVC Upper Air แบบติดตั้งฝาผนังหัวเตียงคนไข้ ช่วยกำจัดเชื้อโรคในอากาศ

ยินดีให้บริการปรึกษา สำรวจหน้างาน วางระบบระบบฆ่าเชื้อโรคในอากาศ 

ติดต่อ คุณกัมปนาถ สายด่วน Tel. 097-1524554

Office Tel : 029294345-6

Email: LPCentermail@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th

id line : Lphotline