คนไทยชอบกินเหล้า !! ในชีวิตจริง เราคงปฏิเสธคำพูดประโยคนี้ไม่ได้ โดยมีผลสำรวจรายงานใว้ชัดเจน (ไม่ได้นั่งเทียนเขียนข่าว) พบว่า คนไทยวัยทำงานอายุ 25-59 ปี เป็นช่วงวัยที่ดื่มเหล้ามากที่สุด (โดยเฉพาะผู้ชาย จะดื่มมากกว่าผู้หญิง) แต่ไม่ได้สำรวจมานะว่าดื่มยี่ห้ออะไรมาก ? โดนปกติคนเราพอดื่มเหล้าก็เมา เมาแล้วก็ห้าว ฮึกเหิม โชว์พาวโชวหญิง อันนี้ก็พาไปสู่การมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันไป สูยเสียกันไปเท่าใหร่กับเมาแล้วโชวืพาว อีกอันนึงที่เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก คือพอเมาแล้วก็ขับรถ ทั้งรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์ (เพื่อนๆ ของผู้เขียน มีทั้งเสียชีวิตและพิการ จากการเกิดอุบัติเหตุเมาแล้วขับหลายคนแล้ว) หรือบางคนเมาแล้วก็ไปทำงาน บางคนเป็นคนใช้ หรือควบคุมเครื่องจักร ก็ทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ เกิดความสูญเสียมากมาย และผลกระทบต่อเนื่องต่อทรัพย์สิน และบุคคลรอบข้างอย่านับไม่ถ้วน ก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่อเนื่อง ตามที่เราเห็นเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ จนกระทั่งรัฐบาลทนไม่ไหวต้องออกมาตรการ และกฏหมายต่างๆ มาควบคุมนักดื่ม นั่นเป็นที่มาของการมีตำรวจมาตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ โดยใช้เครื่องเป่าตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ แบบมือถือ คอยเรียก คอยโบกนักท่องราตรี มาเป่าตรวจ (ผู้เขียนกลับบ้านดึกทีไร โดนเรียกเป่าประจำ)
ไอ้เครื่องเป่าเมานี้ นอกจากที่ตำรวจเขาใช้กันตามด่านตรวจ (ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องแบบ Screening เดี๊ยวเลื่อนไปอ่านดูล่างๆ ละกันว่าเครื่อง Screening คือยังไง) ปัจจุบันยังมีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทขนส่งโลจิสติกส์ และโรงงานหรือบริษัทที่มีพนักงานช่างเป็นจำนวนมาก ร้อยพ่อพันแม่ และแม้กระทั่งห้างสรรพสินค้า Department Store ที่มี DC คลังสินค้าก็มีเครื่องเป่าเมา หรือเครื่องวัดระดับแอกอฮอล์ทางลมหายใจว้สุ่มตรวจพนักงาน กันเป็นล่ำเป็นสัน ด้วยอีกนะ ซึ่งการตรวจพนักงานนี้ก็จะมีขั้นตอน มีกฏหมายควบคุมอีก (วันหน้าจะมาเขียนเรื่องตรวจเมาในสถานประกอบการ ให้อ่านอีกทีครับ)
เฮ้ย !! เจอด่านเป่า ทำไงดี !! ทำยังไงดีจึงจะลดโอกาสที่จะถูกด่านตรวจเรียกเข้าไปเป่าตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนเลยว่า ” ในวันนั้น หรือในงานเลี่ยง ถ้าเราไม่ดื่มเหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์อื่นๆ ตั้งแต่แก้วแรก เพราะเรารู้ตัวว่าจะต้องขับรถกลับบ้าน หรือไปอื่นต่อเป็นการปฏิบัติตัวที่ดีที่สุด ” แต่ถ้าเผลอดื่มเข้าไปแล้ว สำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะ รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ ที่กลัวว่าจะถูกตรวจว่ามีปริมาณ แอลกอฮอล์ในเลือดเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ควรจะทำดังนี้
1. เรียกใช้บริการ You Drink I Drive ให้เขามารับ แล้วเมาต่อให้สาแก่ใจไปเลย หรือจอดรถที่ร้าน กลับ TAXI
2. งดการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 15 นาที ก่อนการขับขี่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ และไม่ควร รับประทานยา หรือใช้สเปรย์ระงับกลิ่นปากก่อนการขับรถเพราะอาจมีผลต่อการตรวจวัดได้
3. ดื่มนม นมเปรี้ยว หรือ รับประทานอาหารให้อิ่ม ดื่มน้ำ เตรียมใว้ เผื่อเป่าไม่ผ่านจะได้มีแรงนั่งยาวๆ รอเพื่อน หรือคนที่บ้านมาช่วยเคลียร์ ถ้าเป็นวันศุกร์ห็แย่หน่อย ติดเสาร์ อาทิตย์ อาจได้นอนยาวๆ
4. อย่างน้อยใน 5 นาทีที่ก่อนการถูกตรวจวัด ไม่ควรสูบบุหรี่ เนื่องจากกลิ่นบุหรี่จะเข้าไปสะสมในเครื่องวัด และกลิ่นบุหรี่ยังอาจเป็นที่น่ารังเกียจของผู้ที่จะใช้เครื่องเป่าต่อไป
5. หากถูกเรียกเพื่อตรวจวัดลมหายใจ ตรวจดูหลอดเป่า ก่อนท่านจะเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจจะ ต้องแน่ใจว่า หลอดเป่าที่ใช้ต้องเป็นของใหม่ที่ได้ทำให้ปลอดเชื้อ (Sterilization) แล้ว
ในกรณีที่ถูกเป่าตรวจแล้วพบว่า มีปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจเกิน 50 mg% หรือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่มากนัก และผู้ที่ถูกตรวจเป่าไม่แน่ใจในผลการตรวจวัดฯว่าถูกต้องหรือไม่ หรือคิดว่าตัวเองไม่เมาเหล้าถึงขนาดนั้น ผู้ที่ถูกตรวจเป่าวัดแอลกอฮอล์ มีสิทธิ์ที่จะร้องขอการตรวจพิสูจน์ได้โดยวิธีการตรวจจากปัสสาวะ และตรวจวัดจากเลือด โดยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจวัด ซึ่งการตรวจวัดนี้จะกระทำภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฏหมาย
ความเป็นมาของเครื่องเป่าเมา หรือเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ
การศึกษาวิธีที่จะวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกายมีมานานกว่า 150 ปีแล้ว โดยผู้ที่ศึกษาเป็นคนแรกคือ มิสเตอร์ Francis Edmund Anstie ชาวอังกฤษ ได้ทำการศึกษา ในช่วง ค.ศ. 1833 – ค.ศ. 1874 พบว่าแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปจะสามารถพบบางส่วน ได้ในลมหายใจและปัสสาวะ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Nielous ได้ทำการศึกษา ในช่วงปี ค.ศ. 1848 – ค.ศ. 1910 พบว่า แอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป จะพบในลมหายใจ ปัสสาวะ น้ำลาย และเหงื่อ หลังจากนั้นได้มีนักวิทยาศาสตร์ ให้ความสนใจทำการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ อีกหลายท่าน
ในระยะแรก การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณแอลกอฮอล์ เขาก็จะใช้วิธีเก็บตัวอย่างจากเลือด หรือปัสสาวะจากผู้ต้องสงสัยว่าจะดื่มเหล้า แต่มีปัญหาคือต้องวิเคราะห์กันในห้องปฏิบัติการ และต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญ ทำให้ทราบผลช้า และที่สำคัญคือ ไม่สามารถบ่งบอกไปถึงปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้อย่างแท้จริง โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในร่างกายด้วย ดังนั้น จึงได้มีการนำวิธีการวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจมาใช้ในช่วงปี 1930-1953 โดยได้มีการ คิดค้นเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจขึ้นมา และได้มีการพัฒนาเครื่องมือวัดแอลกอฮอล์ รุ่นใหม่ๆ ออกมาจนถึงปัจจุบัน โดยการพัฒนาเครื่องมือวัดแอลกอฮอล์นี้ เป็นการออกแบบให้เครื่องสามารถวัดได้เฉพาะแอลกอฮอล์ ชนิดที่เป็น Ethyl อย่างเดียว (เครื่องดื่มผสมแอล กอฮอล์ที่มนุษย์เราดื่มจะผสมแอลกอฮอล์ชนิด Ethyl) โดยไม่ถูกสอดแทรกโดยสาร อื่น เช่น acetone, chloroform, ether , ethyl acetate, methanol เป็นต้น เพื่อที่จะให้การวิเคราะห์ปริมาณลมหายใจใกล้กับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมากที่สุด
เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ แบ่งตามลักษณะของเครื่องได้เป็นสองประเภท คือ
1.แบบพกพา (Mobile)
2.แบบประจำที่ (Stationary)
ถ้าแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจแบบตรวจคัดกรอง (screening) เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธี เป่าลมหายใจแบบตรวจคัดกรอง เป็นเครื่องที่ใช้ในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด โดยวิธีเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัด ผลที่แสดงจะเป็นตัวหนังสือว่าเกินหรือไม่เกินค่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ เช่น แสดงเป็น pass หรือ Fail หรืออาจแสดงเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ต่างๆก็ได้
2.เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจแบบตรวจยืนยันผล (Evidential) เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์แบบตรวจยืนยันผล เป็นเครื่องที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด โดยวิธีเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัด ผลที่ได้จะแสดงเป็นตัวเลข ว่ามีปริมาณในหน่วย mg/100ml เช่น 50 mg/100ml (แสดงว่า ในเลือด 100 มิลลิลิตรมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ 50 มิลลิกรัม) เป็นต้น
เครื่องที่ใช้ในการวัดแอลกอฮอล์จากลมหายใจ มีด้วยกัน 4 แบบ คือ
1. แบบ Colorimeter ใช้หลักการเปลี่ยนสีของ Potassium Dichromate จากสีเหลือง ถ้าได้รับไอของแอลกอฮอล์ จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว แบบนี้ ใช้ทดสอบแอลกอฮอล์ในลมหายใจ ใช้ได้ครั้งเดียว แล้วทิ้ง
2. แบบ Semiconductor ใช้หลักการ ดักจับไอของแอลกอฮอล์ไปจับ Semi-conductor ทำให้ความต้านทานเปลี่ยนแปลง ควแบบนี้ ใช้ทดสอบแอลกอฮอล์ในลมหายใจ แต่ความเที่ยงตรงจะมีช่วงแกว่งๆ อยู่บ้าง เครื่องตัวเล็ก น้ำหนักเบา ราคาไม่แพง
3. แบบ Fuel cell อันนี้เป็นแบบเซลไฟฟ้าเคมี (Electrochemical Fuel cell) คือเมื่อไอของ แอลกอฮอล์ถูกดูดซับโดย cell จะทำให้เกิดปฏิกิริยา กลายเป็นกรดอะเซติคและเกิดกระแสไฟฟ้าซึ่งเกิดขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณแอลกอฮอล์ แบบ FuelCell นี้ มีความถูกต้องและแม่นยำดี มีความจำเพาะต่อการวัด Ethyl alcohol ดี ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก แต่ราคาแอบแพงไปนิด
4. แบบ Infrared Absorption ตัวนี้การทำงานอาศัยหลักการที่แสง Infrared จะถูกดูดซับ เข้าไปมากน้อยเท่าใด ขึ้นกับระดับความเข้มข้นของไอแอลกอฮอล์ เครื่องแบบนี้ มีความถูกต้องดีมาก มีความจำเพาะต่อการวัด Ethyl alcohol แต่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ราคาสูงเหมาะใช้สำหรับใช้ประจำที่ หรือห้อง LAB แบบนีี้ราคาอักโขอยู่
ถ้าจะใช้ เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ ควรเลือกยังไงดี ?
วิธีการเลือกใช้เครื่องตรวจแอลกอฮอล์ ควรมองหาเครื่องที่มีคุณภาพได้มาตรฐานดังนี้
1. เป็นเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ มีใบรับรองว่าเป็นเครื่องที่ผ่านการทำการสอบเทียบมาตรฐานหรือ Calibrate เครื่องจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือได้รับการรับรองจาก สวทช. เป็นต้น
2. ตัวเครื่องมีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ไม่ใช่ราคาถูกจนเกินไป (เช่นเครื่องจากจีน) เพราะการซื้อเครื่องที่ราคาถูกมากๆ มาใช้ ประสิทธิภาพของค่าที่วัดได้อาจไม่ได้มาตรฐาน และเชื่อถือไม่ได้
3. เลือกรุ่นที่ ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างง่ายๆ มีขนาดและรูปทรงที่เหมาะสมกับการใช้งาน น้ำหนักเบา สามารถพกพาได้สะดวก บำรุงรักษาง่าย และมีอะไหล่รองรับ หาอะไหล่ได้ง่าย
4. ในการใช้งาน หากเราต้องการผลการตรวจวัดว่ามีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปหรือไม่ เช่นการใช้ในโรงงาน หรือใช้งานตรวจพนักงานขับรถขนส่ง ควรเลือกใช้เครื่องตรวจวัดผลเบื้องต้น เช่นแบบ Screening เพราะพกพาสะดวก ใช้งานง่าย ราคาไม่แพง เหมาะสำหรับใช้วัดผลส่วนตัว หรือตรวจวัดกันในโรงงาน แต่ถ้าหากต้องการวัดผล ให้ได้ค่าที่แม่นยำควรเลือกใช้เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์แบบยืนยันผล (Fuel cell)
ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ ปรึกษาเรื่องเครื่องครวจวัดแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ ติดต่อคุณกัมปนาถ
HotLine : 097- 1524554
id Line: Lphotline
Email: LPCentermail@gmail.com