Posted on

เครื่องวัดแก๊ส (Gas Detector) สำหรับงานในที่อับอากาศ (Confined Space)

“ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัด บันทึกผลการตรวจวัด และประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศก่อนให้ลูกจ้างเข้าไปทำงานและในระหว่างที่ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ” ข้อความประโยคนี้ พี่น้อง Safety ทั้งหลายน่าจะเห็นกันแล้วจากกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ

เครื่องวัดแก๊สแบบ Area Monitor ผลิตภัณฑ์ Industrial Scientific

ทีนี้ผมขออนุญาต ลอกบางส่วนของกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 มาเก็บไว้อ่านกันลืมก่อน

ที่อับอากาศ (Confined Space) หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดหรือไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และ มีสภาพอันตราย หรือ มีบรรยากาศอันตราย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มี

สภาพอันตราย” หมายความว่า สภาพหรือสภาวะที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงาน โดยมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(1) มีวัตถุหรือวัสดุที่อาจก่อให้เกิดการจมลงของลูกจ้าง หรือทับถมลูกจ้างที่เข้าไปทำงาน

(2) มีสภาพที่อาจทำให้ลูกจ้างตก ถูกกัก หรือติดอยู่ภายใน

(3) มีสภาวะที่ลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากบรรยากาศอันตราย

(4) สภาพอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายภาพหรือชีวิตที่อธิบดีประกาศกำหนด”

บรรยากาศอันตราย” หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

(1) มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5 โดยปริมาตร

รูปแสดงระดับออกซิเจน ที่เหมาะสมกับการหายใจ

(2) มีก๊าซ ไอ หรือละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำ ของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศ ที่อาจติดไปหรือระเบิดได้ (LFL: Lower Flammable limit หรือ LEL: lower explosive limit)

(3) มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับ หรือมากกว่าค่าความเข้มข้นต่ำสุดของฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้แต่ละชนิด (Minimum Explosible Concentration)

(4) มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการฯ เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

(5) สภาวะอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่อธิบดีประกาศกำหนด”

ภาพแสดงคำจำกัดความ และความหมายของตัวอักษร

“นายจ้างจัดทำป้ายแจ้งข้อความว่า “ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า” ให้มีขนาด มองเห็นได้ชัดเจน ติดตั้งไว้โดยเปิดเผยบริเวณทางเข้าออกของที่อับอากาศทุกแห่ง สำหรับที่อับอากาศ ซึ่งต้องมีอุปกรณ์เฉพาะในการเปิดทางเข้าออก ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการควบคุมเพื่อความปลอดภัยในการเปิดทางเข้าออกและต้องติดป้ายแจ้งข้อความดังกล่าวด้วย”

ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างแหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ ยกเว้นนายจ้างได้ดำเนินการให้มีความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้แล้ว และลูกจ้างหรือบุคคลนั้นได้รับอนุญาตจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต และเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

เครื่องวัดแก๊ส แบบพกพารุ่น Ventis MX4 ผลิตภัณฑ์ Industrial Scientific

ห้ามนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้าง หรือ บุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ หากนายจ้างรู้ว่าหรือควรรู้ว่าลูกจ้างหรือบุคคลนั้นเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นทีแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลนั้น

ให้นายจ้างจัดให้มีการประเมินสภาพอันตรายในที่อับอากาศ หากพบว่ามีสภาพอันตรายนายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมสภาพอันตรายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อลูกจ้าง และให้นายจ้างเก็บหลักฐานการดำเนินการไว้ ณ สถานประกอบกิจการ หรือสถานที่ทำงาน เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ผม Copy ลอกกฎกระทรวงฯ 2562 มาเยอะแล้ว ทีนี้ มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ

การเลือกเครื่องวัดแก๊ส (Gas Detector) สำหรับใช้งานในที่อับอากาศ (Confined Space) กันดีกว่า

   เครื่องวัดแก๊ส Gas Detector คือ อุปกรณ์ทางด้านความปลอดภัย ใช้สำหรับตรวจสอบพื้นที่และบริเวณที่ปฏิบัติงานว่ามีสารพิษ สารไวไฟ ตลอดจนก๊าซออกซิเจน (อากาศ) ว่าอยู่นระดับที่มีความปลอดภัยเพียงพอก่อนจะเริ่มทำงานหรือไม่ และที่สำคัญที่สุด ผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ จะต้องผ่านการฝึกอบรม “การทำงานในที่อับอากาศ”

เครื่องวัดแก๊สแบบพกพา ผลิตภัณฑ์ MSA

วันนี้ เรามาดูหลักวิธีการพิจารณาเลือกเครื่องวัดแก๊สสำหรับพื้นที่อับอากาศ (Confined Space)ได้อย่างคุ้มค่าและปลอดภัยกันดีกว่า  คิดง่ายๆที่สุดเลยคือ หลักการสำคัญของการเลือกเครื่องวัดแก๊สสำหรับงานพื้นที่อับอากาศ (Confined Space) จะอยู่ที่การเลือกชนิด รูปแบบ และความสามารถของตัวเครื่องที่ครอบคลุมการวัดแก๊สชนิดต่างๆ ให้ครอบคลุมตรงกับงาน และสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน อย่างสูงสุดนั่นเอง หลักๆ ก็มีข้อพิจารณาดังนี้

พิจารณา ในเรื่องของหัว Sensor ตรวจวัดแก๊ส  ในการประเมินบรรยากาศอันตรายตามที่กฎกระทรวงปี 2562 ในเรื่องของการบริหารจัดการความปลอดภัยสำหรับการตรวจประเมินก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ จะต้องตรวจสอบและคำนึงถึงปริมาณออกซิเจน (O2), แก๊สติดไฟ (LEL), แก๊สพิษ (Toxic) โดยแก๊สพิษส่วนใหญ่ที่จะพบได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ซึ่งแก๊สที่กล่าวมานี้ เป็น 4 แก๊สพื้นฐานที่พบบ่อย และควรมีไว้ในการตรวจวัดเป็นอย่างน้อย หากสามารถรวมกันอยู่ในอุปกรณ์ตัวเดียวกันได้จะทำให้การทำงานมีความสะดวกยิ่งขึ้น (เอาตรงๆ ไม่ต้องอ้อมค้อม คือ เราควรเลือกซื้อเครื่องวัดแก๊สที่มีระบบ Sensor ที่สามารถวัดได้ทั้ง 4 แก๊สพื้นฐานนี้ อยู่ในเครื่องเดียวกัน)

รูปตัวอย่าง Sensor หัววัดแก๊ส

พิจารณาในเรื่อง ความสามารถในการป้องกัน และการก่อให้เกิดประกายไฟขณะทำงาน ตัวอุปกรณ์เครื่องวัดแก๊ส เป็นอุปกรณ์ Electronic ซึ่งในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน ก็มีความเสี่ยงอาจก่อให้เกิดประกายไฟได้ หากพื้นที่หน้างานมีไอระเหยของเชื้อเพลิง หรือสารเคมีที่มีความเสี่ยงในการระเบิดหรือติดไฟได้  ดังนั้นในการเลือกซื้อเครื่องวัดแก๊สควรเลือกตัวอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานสูง ยี่ห้อมีความน่าเชื่อถือ และมีมาตรฐานที่น่าเชื่อถือในการกันการระเบิดจากประกายไฟ แต่ที่ว่าจะสามารถกันการระเบิดได้ในระดับใด โซนใดบ้าง อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับ Specification ของอุปกรณ์ซึ่งแตกต่างตามยี่ห้อและราคา ของ Brand  และตามแต่ละประเภทของหน้างานที่เราจะนำไปใช้

เครื่องวัดแก๊สแบบพกพา ผลิตภัณฑ์ Industrial Scientific

พิจารณาเรื่อง ระบบการแจ้งเตือน และการร้องขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน (ถ้ามี)  เครื่องวัดแก๊สที่ดี ควรจะต้องมีระบบการทำงานระบบนี้ เช่นผู้ปฏิบัติงานใช้เครื่องวัดแก๊สประสบเหตุฉุกเฉินขณะทำงานโดยไม่คาดคิด เช่น มี Motion Sensor แบบประมาณว่า เครื่องมันจะรู้สึกได้ว่า เอ๊ะ! ผู้ปฏิบัติงาน ไม่กระดุกกระดิก ไม่เคลื่อนไหวตามเวลาที่กำหนด เครื่องก็จะส่งสัญญาณเตือน หรือส่งเสียงดังๆ เตือนไปยังเพื่อนร่วมงาน หรือผู้ช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องได้ หรือหากเป็นเครื่องที่มีระบบสื่อสารระยะไกล ก็จะสามารถใช้ระบบสื่อสารนั้น ร้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน หรือผู้ช่วยเหลือ ผู้ควบคุมงานที่เกี่ยวข้องได้

พิจารณาเรื่อง Option เสริม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน และเพิ่มความปลอดภัย บางสถานที่ของโรงงานไม่สามารถนำถือ หรือตัวเครื่องวัดแก๊สเข้าไปตรงจุดที่ต้องการตรวจสอบได้ เช่นอาจจะเป็นท่อ เป็นบ่อที่ลึกลงไป หรือในถังปิดขาดใหญ่ (ห้ามหย่อนเครื่องวัดแก๊สลงไปในบ่อ หรือถัง ที่อับอากาศลงไปตรงๆ เด็ดขาด) เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเดินเข้าไปถึงที่ อาจเกิดอันตรายได้ จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์เสริม เช่นระบบปั๊มดูดอากาศเข้ามาที่เครื่อง (ดูดอากาศจากภายนอก หรือ ใช้สายต่อพ่วง หย่อนลงไป) ซึ่ง Option อุปกรณ์เสริมเหล่านี้ ควรที่จะมีไว้เป็นการดี เป็นการช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน

รูปตัวอย่าง Air Line และ Air Probe และ อุปกรณ์เสริมต่างๆ สำหรับต่อเข้ากับเครื่องวัดแก๊ส เพื่อใช้ในพื้นที่เสี่ยง

พิจารณาเรื่อง การสอบเทียบมาตรฐานอุปกรณ์ (Calibration) เครื่องมือวัดที่ดีทุกชนิด ควรมีการสอบเทียบ (Calibration) และมีการรับรองการสอบเทียบอุปกรณ์อยู่เสมอตามวงรอบการ Calibrate การใช้เครื่องมือที่ไม่มีการสอบเทียบ ไม่ต่างอะไรกับการถือระเบิดเวลา (แนะนำให้มีการสอบเทียบเครื่องมือ เดือนละ 1 ครั้ง) เครื่องวัดแก๊สมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรใช้เครื่องวัดแก๊สที่ขาดการบำรุงรักษา หรือมีความเสี่ยงว่าอาจจะชำรุด เข้าไปใช้งานในสถานที่อับอากาศ เพราะมันอาจให้การอ่านค่าผิด ทำให้ผุ้ปฏิบัติงานเกิดอันตรายได้  การสอบเทียบมาตรฐานหากเราไม่มีความชำนาญหรือเราไม่มีชุดแก๊สสอบเทียบ เราควรติดต่อส่งเครื่องให้กับผู้ให้บริการหรือให้ผู้ขายนำเครื่องส่งเพื่อสอบเทียบ จัดการทำ Calibration ให้ดีกว่า เพราะจะมีอุปกรณ์และ แก๊สสอบเทียบที่ได้มาตรฐาน และมีการรับประกันดีกว่า และถ้าหากผู้ขาย/ผู้ให้บริการมีระบบแจ้งเตือนการสอบเทียบหรือมีระบบฐานข้อมูล ช่วยเก็บประวัติเครื่องของเรา ก็จะช่วยให้เราสะดวกมากขึ้นและเป็นการช่วยป้องกันการลืมนำเครื่องวัดแก๊สไปสอบเทียบเมื่อถึงกำหนดตามวงรอบ

รูปตัวอย่าง ชุด Test Kit และ ชุดสอบเทียบมาตรฐาน เครื่องวัดแก๊ส สำหรับผลิตภัณฑ์ MSA
รูปตัวอย่าง Option เสริม และชุดสอบเทียบมาตรฐาน สำหรับเครื่องวัดแก๊ส Industrial Scientific

สนทนาเพิ่มเติม คุณกัมปนาถ ติดต่อ T.063-7855159 id Line: Lpcontact

บทความนี้ ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ มิได้ทำเพื่อการค้าแต่อย่างใด

ผู้รวบรวมเขียนเนื้อหา ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกับพี่น้อง Safety ทุกท่านครับ

Posted on

ถ้าคิดจะซื้อเครื่อง AED อ่านเรื่องนี้ก่อน !

เครื่อง AED คืออะไร

    เชื่อว่าหลายๆคน น่าจะเคยเห็นกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวๆ ที่ติดตามฝาผนัง หรือเป็นตู้แท่งแบบตั้งพื้น ที่มีตัวอักษรเขียนว่า EMERGENCY หรือตัวอักษร AED ที่ติดอยู่ตามห้างสรรพสินค้า, โรงงาน, Lobby โรงแรม,  Lobby คอนโดมิเนียม, อาคารสำนักงาน, สนามกีฬา ฟิตเนส หรือตามพื้นที่สาธารณะ และหน่วยราชการต่างๆ กันมาบ้าง แล้วคุณเคยสงสัยมั้ยว่าเครื่อง AED ที่เห็นกันเนี่ย มันเป็นยังไง

    เครื่อง AED (Automated External Defibrillator) ภาษาไทยเรียกว่า “ เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ” เป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตในยามฉุกเฉิน ในกรณีที่มีผู้ประสบปัญหาทางด้านหัวใจ และในบางรุ่นยังสามารถใช้ในการวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

   เครื่อง AED นั้น ทำงานโดยใช้หลักการทางอิเล็กทรอนิกส์ เรียกง่ายๆได้ว่าเป็นอุปกรณ์การแพทย์แบบพกพา ที่ใช้กระตุ้นหัวใจผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจ โดยใช้กระแสไฟฟ้า หยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้อง ทำให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติได้ปกติอีกครั้ง

เครื่อง AED ยี่ห้อ CardiAid

เครื่อง AED ที่พบบ่อย มี 2 แบบ

    แบบที่ 1 เครื่อง AED แบบกดปุ่ม คือ ต้องกดปุ่มเปิดเมื่อต้องการใช้งาน หรือต้องการเปิดเครื่อง โดยผู้ช่วยเหลือจะต้องทำการกดปุ่มเปิดเครื่องบนตัวเครื่องด้วยตนเอง จากนั้นพอเครื่องเปิดทำงาน ผู้ช่วยเหลือกHทำตามขั้นตอนตามที่เครื่องบอก

    แบบที่ 2  เครื่อง AED แบบอัตโนมัติ (เป็นเครื่อง AED ที่มีความทันสมัย) วิธีการใช้เครื่องอัตโนมัติ ผู้ช่วยเหลือทำแค่เพียงเปิดฝาครอบเครื่องออก ตัวเครื่องจะเปิดการทำงานทันทีแบบอัตโนมัติ และยังมีเสียงบอกให้ผู้ช่วยเหลือทราบว่าจะต้องปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนอย่างไร    

โดยสรุป เครื่อง AED ออกแบบมาให้เป็นอุปกรณ์ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้งานได้อย่างง่าย สามารถนำไปใช้ปฐมพยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่ช่วยเหลือไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการใช้งาน AED มาก่อน  คนทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ง่าย เพียงทำตามคำแนะนำของเครื่อง AED ซึ่งสามารถประเมินสถานการณ์ของผู้ป่วยได้โดยอัตโนมัติ และช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจผู้ป่วยให้ได้อย่างทันท่วงที

เครื่อง AED ยี่ห้อ HeartSine Samaritan PAD

     วิธีการเลือกเครื่อง AED 

เครื่อง AED ที่จำหน่ายในประเทศไทย มีมายมายหลายยี่ห้อ หลายราคา และส่วนมากมักจะมี Function การทำงานที่คล้ายๆ กัน แต่…ถึงแม้ว่าเครื่อง AED จะมี Function การทำงานที่เหมือน ๆ กัน ในความเหมือนที่แตกต่างของเครื่องแต่ละยี่ห้อก็ยังมีอยู่  ดังนั้นหากต้องการเลือกใช้เครื่อง AED ให้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งานของผู้ใช้มากที่สุด ก็สามารถยึดหลักวิธีการเลือกได้ง่าย ๆ โดยผมแนะนำให้พิจารณาดูตามหลักพื้นฐานขั้นต้น ดังนี้

  1. พิจารณาสภาพแวดล้อมที่จะใช้เครื่อง AED หากจะใช้กลางแจ้ง ต้องเลือกเครื่อง AED ที่มั่นใจได้ว่า ถึงแม้จะใส่ในตู้ แล้วต้องทนทานต่อสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ หรือหากจะใช้ภานในอาคาร เช่นเครื่อง AED ในโรงพยาบาล สถานที่สาธารณะ สถานที่ราชการ หรืออาคารอื่นๆ ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่อง AED ที่ท่านเลือกใช้ ควรจะเข้ากันได้กับอุปกรณ์และระบบที่มีอยู่เดิม
  2. เลือกเครื่อง AED ที่สามารถใช้งานได้ง่าย Function ต่างๆ ใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน มีภาพประกอบบนเครื่องที่เข้าใจง่าย มีเสียงบรรยายขั้นตอนการใช้เป็นภาษาไทยที่ฟังแล้วเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ช่วยเหลือสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและปลอดภัย
  3. เลือกเครื่อง AED ที่มีอุปกรณ์ครอบคลุมทุกสถานการณ์ เช่น ควรเลือกเครื่องที่มีอุปกรณ์ประกอบเครื่องที่สามารถใช้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ มีอุปกรณ์ส่วนควบครบ แผ่น PAD นำไฟฟ้า ต่างๆ สายนำสัญญาณ แบตเตอรี่ คู่มือการใช้งาน และในตู้เก็บ AED ควรมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่จำเป็น
  4. เลือกเครื่อง AED ที่มีการถ่ายโอนข้อมูลการใช้งานได้โดยง่าย และหรือมีระบบติดตามแสดงผล มีการบันทึกเวลา มีการบันทึกการทำงานของเครื่อง มีการติดตามสถานะเครื่อง สถานะแบตเตอรี่ และตำแหน่งการเคลื่อนย้ายเครื่อง เพื่อนำมาเป็นรายงานอ้างอิงได้ (ในบางกรณีอาจจะมีความจำเป็นต้องใช้รายงานต่างๆ ที่เครื่องบันทึกไว้ประกอบขั้นตอนทางกฎหมาย)
  5. เลือกเครื่อง AED จากผู้แทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีบริษัทที่ตั้งตัวตนชัดเจน มีการแนะนำการใช้งาน และบำรุงรักษา มีการรับประกัน มีการรับรองว่ามีอะไหล่รองรับ ไม่น้อยกว่า 5 ปี
เครื่อง AED ยี่ห้อ HeartPlus ( AED 4)

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่อง AED

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่อง AED ที่พบบ่อยที่สุด คือการระคายเคืองผิวหนังของผู้ป่วยบริเวณที่ปิดแผ่น PAD Electrode  ซึ่งโดยปกติสามารถแก้ไขได้โดยใช้แผ่น PAD Electrode ประเภทอื่นหรือเปลี่ยนตำแหน่งของแผ่น PAD Electrode และนอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น

  • เวียนหัว หรือหน้ามืด
  •  รู้สึกวิตกกังวลหรือประหม่า
  • ปวดหัวตุบๆ
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • เหงื่อออก
  • อัตราการเต้นของหัวใจหรือความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง
เครื่อง AED ยี่ห้อ Mindray BeneHeart C1A

สนใจเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ

AED (Automated External Defibrillator) ติดต่อ คุณกัมปนาถ

T. 097-1524554  id Line: Lphotline

Email: LPCentermail@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th