Posted on

เครื่องฟอกอากาศแบบ Electrostatic (Electronic Collecting Cell) คืออะไร

หมายเหตุ: เครื่องฟอกอากาศระบบ Elec­tro­sta­tic (Electrostatic Precipitator ESP) หรือที่เรียกว่าการทำงานด้วยระบบ Electronic Collecting Cell เป็นครุภัณฑ์ ที่มีข้อกำหนดและคุณสมบัติ บรรจุอยู่ในบัญชีครุภัณฑ์ ราชการ

ระบบฟิลเตอร์กรองอากาส Electronic Collecting Cell หรือ Electrostatic Precipitator (ESP)

เป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นระบบ HEPA FILTER ในปัจจุบัน

รูปตัวอย่างเครื่องฟอกอากาศระบบ Electronic Collecting Cell แบบใส้กรอง Filter ถอดล้างได้ รุ่น KJ600D-X10

เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electrostatic Precipitator (ESP) Filter หรือที่เรียกอีกแบบนึงว่า Electronic Collecting Cell เป็นระบบกรองอากาศที่ทำงานโดยใช้หลักไฟฟ้าสถิต ด้วยการปล่อยประจุไฟฟ้าลบ ออกมาจับฝุ่นละอองหรืออนุภาคขนาดเล็กที่เป็นประจุบวกให้เป็นกลุ่มก้อน เพื่อทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นแล้วตกลงสู่พื้น ไม่ลอยฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ และ เป็นระบบฟอกอากาศ ที่ไส้กรองสามารถถอดล้างทำความสะอาดได้บ่อยครั้งตามที่ต้องการ จึงไม่เป็นที่สะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรค อีกทั้งยังช่วยประหยัดวัสดุสิ้นเปลืองช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน Filter อีกด้วย จึงได้รับการขึ้นบัญชีจากกรมบัญชีกลาง เป็นครุภัณฑ์ ระบบเครื่องฟอกอากาศ สำหรับติดตั้งใช้งานในหน่วยงานราชการ อาคารสำนักงาน สถานพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพ และโรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐฯ มานาน

* แต่ในปัจจุบัน ในประเทศไทยเรา มีทั้งภาวะฝุ่นพิษ PM2.5 และโรคระบบทางทางเดินหายใจ เช่น โรค Covid-19 เกิดขึ้น เครื่องฟอกอากาศที่ใช้ระบบกรองแบบ Electronic Collecting Cell หรือ ESP ไม่สามารถป้องกันได้ จึงต้องมีการเพิ่มชุดกรองอากาศแบบ H13 HEPA Filter ซึ่งมีความละเอียดในการกรองฝุ่น PM2.5 และเชื้อไวรัส ได้ดี เข้ามาในชุดระบบกรองอากาศ

** เพิ่มเติม 2564 – ปัจจุบัน ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมปลอดเชื้อ, ห้องแรงดันลบ, ห้องแยกโรค, หอผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ COHORT WARD, ห้องผ่าตัด (OR) ให้ใช้เครื่องฟอกอากาศที่เป็นระบบกรองอากาศแบบ H13 HEPA Filter แต่เพียงอย่างเดียว (ไม่มีการใช้ระบบ ESP)

ต่อไปนี้ ขอเชิญ มาเริ่มต้น ความปวดหัวกับบทความวิชาการ ที่ผมลอกเขามามั่ง เติมเสริมเพิ่มเองมั่ง กันครับ

หลักการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ แบบใส้กรองถอดล้างทำความสะอาดได้ Electrostatic Precipitator (ESP)

เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electronic Collecting Cell (ESP) แบบเคลื่อนย้ายได้ในรุ่นแรกๆ ชนิดไม่มี ชุดกรอง H13 HEPA Filter ช่วย

ระบบ Electrostatic Precipitator (ESP) คืออะไร ในเครื่องฟอกอากาศ

Electrostatic Precipitator (ESP) เป็นระบบดักจักฝุ่นละอองที่ใช้แรงไฟฟ้าสถิต (Electrostatic forces) ประกอบด้วยเส้นลวดประจุลบ และแผ่นเพลตโลหะประจุบวก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับศักย์ไฟฟ้าแรงสูงจะทำให้อากาศที่อยู่ระหว่างแผ่นเพลตโลหะและเส้นลวดเกิดการแตกตัว (Ionization) เมื่ออากาศหรือแก๊สที่ประกอบด้วยละอองลอย ฝุ่นละออง เคลื่อนที่ผ่านอนุภาคจะแตกตัวเป็นไอออน อนุภาคที่แตกตัวจะถูกดักจับติดกับแผ่นเพลตโลหะด้วยแรงทางไฟฟ้า ที่เรียกว่า แรงคูลอมบ์ จึงทำให้อากาศที่ผ่านระบบนี้ออกมาเป็นอากาศบริสุทธิ์  ซึ่งหลักการนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับระบบดักจับฝุ่นละอองในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และรวมถึงการนำประยุกต์ใช้กับเครื่องฟอกอากาศขนาดเล็กภายในบ้าน สำนักงาน หรือโรงพยาบาล ต่างๆ (ตัวอย่างเช่นเครื่องฟอกอากาศหน้าห้องพักคอย รอเข้าห้อง X-Ray ที่ตึกสิรินธร โรงพยาบาลราชวิถี ที่เป็นเครื่องที่เก่า มากกกกกกก ถึงมากที่สุด)

รูปแสดงหลักการทำงานของระบบ Electrostatic (Credit www.hitachi-infra.com.sg)

จากระบบที่กล่าวมานั้น Electrostatic Precipitator (ESP) เป็นระบบที่ใช้ศักย์ไฟฟ้าแรงสูง และดักจับฝุ่นละอองด้วยแรงคูลอมบ์ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับแก๊สประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละอองแต่ละขนาดก็จะแตกต่างกัน มีปัจจัยขึ้นอยู่กับความเข้มของศักย์ไฟฟ้าระหว่างแผ่นเพลตโลหะและเส้นลวด  และเวลาของอนุภาคที่เคลื่อนที่ผ่านสนามไฟฟ้า

สำหรับในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

เครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต Electrostatic Precipitator (ESP) เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงไฟฟ้าในการแยกอนุภาค โดยใส่ประจุให้อนุภาค แล้วผ่านอนุภาคที่มีประจุเข้าไปในสนามไฟฟ้าสถิต อนุภาคจะเคลื่อนเข้าหาแผ่นเก็บที่มีศักย์ไฟฟ้าตรงข้ามกัน ESP มีประสิทธิภาพสูงมากในการดักฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน ได้มากกว่า 99.5% ความดันสูญเสียต่ำและสามารถจับก๊าซร้อนได้

หลักการทำงานของ ESP มี 3 ขั้นตอน คือ
– การใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาค
– การเก็บอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตจากสนามไฟฟ้า
– การแยกอนุภาคออกจากขั้วเก็บไปยังถังเก็บพัก

รูปตัวอย่าง การล้างชุดกรอง Electronic Collecting Cell ด้วยน้ำสะอาด หลังจากที่ล้างฝุ่นสกปรกออกด้วยน้ำที่ผสมน้ำยาทำความสะอาดแล้ว

ส่วนประกอบของเครื่อง ESP มีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ

  1. ขั้วปล่อยประจุ Discharge Electrodes เป็นลักษณะเป็นเส้นลวดแผ่นหรือท่อแล้วใส่ไฟฟ้าแรงดันสูง เพื่อให้เกิดการแตกตัวเป็นอิออน (ไม่ใช่บัตร อิออนนะครับ)
  2. ขั้วเก็บ Collection Electrodes ขั้วเก็บ ส่วนใหญ่เป็นแผ่น เนื่องจากทำให้สามารถรับปริมาณของก๊าซได้มาก
  3. เครื่องแยกฝุ่น Rappers เครื่องแยกฝุ่นเอาไว้แยกฝุ่นออกจากแผ่นเก็บ (อันนี้จะมีในโรงงานอุตสาหกรรม)
  4. ถังพัก Hopper (อันนี้ก็จะมีในโรงงารอุตสาหกรรม เครื่องบ้านๆ ก็ไม่มี)

ะบบดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Precipitators (ESP) ใช้แรงไฟฟ้าในการแยก  อนุภาคออกจากกระแสก๊าซ โดยการใส่ประจุไฟฟ้าให้อนุภาค แล้วผ่านอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเข้าไปใน   สนามไฟฟ้าสถิตย์ อนุภาคเหล่านี จะเคลื่อนที่เข้าหาและถูกเก็บบนแผ่นเก็บซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าตรงกันข้าม

อนุภาค ESP มีประสิทธิภาพสูงในการเก็บอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน โดยทั่วไปมีประสิทธิภาพ  99.5 % หรือสูงกว่า ปัจจุบัน ESP ถูกใช้เป็นระบบบำบัดมลพิษอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย  เช่น โรงไฟฟ้า โรงหล่อหลอมเหล็ก โรงปูนซีเมนต์ โรงงานผลิตสารเคมี

เครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต Electrostatic Precipitator(ESP) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ดักจับฝุ่น โดยอาศัยแรงทางไฟฟ้าในการ แยกฝุ่นออกจากอากาศ การทำงานประกอบด้วยขั้วที่ให้ประจุลบ (discharge electrode )กับอนุภาคฝุ่น ฝุ่นก็จะวิ่งเข้าไปเกาะที่แผ่นเก็บฝุ่น (Collecting plate) ซึ่งมีขั้วบวก และต่อลงกราวน์ไว้ทำหน้าที่จับและเก็บฝุ่นไว้เมื่อฝุ่นเกาะหนาได้ระดับหนึ่งแล้ว (6-12 มม.) ก็จะถูกเคาะให้ร่วงลงมาในฮอปเปอร์ ลำเลียงออกไปจากตัวเครื่อง มีขั้น ตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาค (Particle charging) โดยขั้ว discharge electrodes จะปล่อยไฟฟ้า กระแสตรง (Direct Current) ที่มีค่าความต่างศักย์สูง (20-110 kV) ทำให้โมเลกุลของกระแสอากาศที่อยู่ รอบๆเกิดการแตกตัวเป็นอิออน (ions) และถูกอิเลคตรอนหรือประจุลบบริเวณขั้วปล่อยประจุ จะเกิดปรากฎการณ์เป็นแสงสีน้ำเงินสว่างบริเวณรอบๆขั้ว ที่เรียกว่า โคโรนา (corona) เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่ เข้ามาสนามไฟฟ้าจะถูกอิออนลบ ของโมเลกุลอากาศจำนวนมากชน ทำให้อนุภาคมีประจุเป็นลบ

รูปแสดงขั้นตอนที่ 1 ของกระบวนการ Electrostatic Precipitator ในระบบ Cell

ขั้นตอนที่ 2 การเก็บอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตย์ จากสนามไฟฟ้า (Electrostatic collection) เป็น ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ภายหลังจากอนุภาคที่มีประจุเป็นลบแล้ว ได้เคลื่อนที่ผ่านเข้ามาในไฟฟ้า และจะถูกเหนี่ยวน้าให้เคลื่อนที่เข้าหาขั้วเก็บ ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก และเกาะติดอยู่กับแผ่นเก็บ ความเร็วของอนุภาคที่วื่งเข้าแผ่นเก็บประจุฯ ความเร็วนี ถูกเรียกว่า Migration Velocity ซึ่งขึ้นกับแรงดันไฟฟ้าที่กระท้าต่ออนุภาคและแรงฉุดลาก (drag force) ที่เกิดขึ้นในขณะที่อนุภาค เคลื่อนที่ไปยังขั้วเก็บประจุฯ นอกจากนี้ เมื่ออนุภาคเกาะติดกับขั้วเก็บประจุฯ แล้วจะค่อยๆ ถ่ายเทประจุลบสู่ขั้วเก็บ ท้าให้แรงดึงดูดทางไฟฟ้า ระหว่าง อนุภาคกับขั้วเก็บลดลงอย่างไรก็ตามการที่อนุภาคจะหลุดจากขั้วเก็บ หรือเกิดการฟุ้งกลับ ( Re-Entrainment ) ของอนุภาคที่เกิดจากการไหลของกระแสอากาศจะค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีการทับถม หรือเกิดการ สะสมของอนุภาคที่มีประจุบนขั้วเก็บ จึงกล่าวได้ว่าขณะที่อนุภาคที่ยึดเกาะกับขั้วเก็บเสียประจุ ฯ ไปเกือบหมด อนุภาคใหม่ที่อยู่ด้านนอกที่เข้ามายึดเกาะนั้นจะยังคงมีประจุไฟฟ้าอยู่ เนื่องจากไม่อาจถ่ายเทประจุฯ ผ่านชั้นของอนุภาคเก่าที่สะสมอยู่ได้ทันที รวมทั้งในการยึดเกาะจะเกิดแรงยึดเหนี่ยว ระหว่างโมเลกุลที่เรียกว่าแรง Adhesive และแรง Cohesive ช่วยในการยึดอนุภาคทั้งหมดให้อยู่กับ ขั้วเก็บ โดยขั้นตอนของการใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาคและการเก็บอนุภาคที่มีประจุดังรูป

รูปแสดงขั้นตอนที่ 2 การเก็บอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตย์

เริ่มมึนๆ งงๆ กันแล้วใช่มั้ยครับ สั้นๆ อย่างงี้แล้วกัน

สรุปใจความได้ว่า เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electronic Collecting Cell หรือ Electrostatic Precipitator (ESP) นั้นคือ ของดีที่มีมานานหลายสิบปีแล้ว ในสมัยนั้นหน่วยงานรัฐยอมซื้อในราคาที่แพงในตอนแรก เพราะมองถึงความประหยัดระยะยาว เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน Filter เพราะในสมัยก่อนนั้นระบบ ESP ก็เพียงพอสามารถฟอกอากาศได้สะอาด และตัว Filer เอง เป็นแบบถอดล้างได้ ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายระยะยาว

แต่ในชีวิตความเป็นจริง โลกมันเปลี่ยนไป มีฝุ่น PM2.5 และ เชื้อโรค เชื้อไวรัสเกิดขึ้นมาก ระบบ ESP Filter อย่างเดียวไม่สามารถทำงานปกป้อง ครอบคลุมท่านได้ อย่างน้อยต้องมี HEPA Filter มาช่วยเสริม และที่ดีที่สุดคือ มีระบบรังสี UV-C ฆ่าเชื้อโรค เข้ามาติดตั้งร่วมด้วย จึงจะป้องกันฝุ่นและเชื้อโรคได้ ดังเช่นที่ใด้เห็นในเครื่องฟอกอากาศรุ่นใหม่ๆ ตามด้านล่างนี้

บริการบำรุงรักษา และล้างทำความสะอาดเครื่องฟอกอากาศระบบ Electronic Collecting Cell (ESP)

ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณกัมปนาถ บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Hotline Tel. 097-1524554

id Line: Lphotline

Office : 02-9294345 -6

e-mail: LPCentermail@gmail.com

Posted on

เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก…ปกป้องหมอฟัน และผู้ช่วยฯ จากการติด Covid-19

ครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก หรือ เครื่องดูดละอองน้ำนอกช่องปาก Aerosol Suction ภาษาอังกฤษเรียก External Oral Suction (EOS) หรือบางคนก็เรียก Extraoral Suction Unit , Extraoral Dental Suction. External suction system แล้วแต่ว่าใครชอบเรียกแบบไหน แต่สุดท้ายแล้วมันก็คือ เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปากแรงดูดสูง นั่นแหละครับ

เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก External Oral Suction System (EOS)

คลีนิคทันตกรรม กับเครื่องดูดละอองฝอยภายนอกช่องปาก กำลังสูง (External Oral Suction / Extraoral Dental Suction)

ช่วงโรคโควิด – 19 ระบาด การทำฟัน เป็นสิ่งหนึ่งที่เสี่ยงต่อการที่หมอฟัน และผู้ช่วยอาจจะติดเชื้อ หรือว่าคนไข้ที่มาทำฟันเอง ก็เสี่ยงอาจจะได้รับเชื้อกลับไป และรวมไปถึงการฟุ้งกระจายแพร่เชื้อโรคในสถานที่ทำฟัน ซึ่งการทำฟันอย่างที่เราเคยทำกัน มันก็จะมีเครื่องกรอฟัน เครื่องขูดหินปูน การกรอฟันปลอม ซึ่งการใช้เครื่องมือเหล่านี้ จะมีละอองกระเด็น มีการฟุ้งกระจายของละอองน้ำ รวมถึงละอองฝอยต่าง ๆ ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ของน้ำ ทั้งที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งละอองฟุ้งกระจายนี้ อาจจะปนเปื้อนด้วยเลือด น้ำลายที่มีเชื้อโรค และด้วยโรคโควิด – 19 มีการติดต่อกันด้วยระบบทางเดินหายใจ ละอองฝอยต่าง ๆ ที่ฟุ้งกระจาย เราจึงสูดดมเข้าไปได้ง่ายมากๆ ทำให้เกิดการติดต่อของโรคได้ง่าย ดังนั้นแล้ว เวลาคนไข้มาทำฟัน เราก็จะต้องจำกัดละอองฝอยไม่ให้ฟุ้งไปข้างนอกห้อง หรือว่าไม่ฟุ้งขึ้นมาหาทันตแพทย์ และผู้ช่วยทันตแพทย์ ซึ่งนี่คือโจทย์ทีเราจะต้องแก้ครับ (จะทำห้องอากาศแรงดันลบ กว่าจะเสร็จ ก็เกรงว่า กว่าจะได้ทำงานกันคงอีกนาน งบประมาณก็อาจจะบานตามไปด้วย)

ทีนี้เราจะทำยังไงดี หันไป หันมา ก็เห็นคำตอบว่าในขณะที่คุณหมอกำลังทำหัตถการ ควรใช้เครื่องดูดที่มีประสิทธิภาพ ช่วยดูดละอองฝอยกลับเข้าไปในเครื่องให้ได้เยอะที่สุด แล้วเตรื่องนั้น นำอากาศที่ดูดไปกรอง และฆ่าเชื้อโรค ก่อนที่จะปล่อยอากาศกลับออกมา ซึ่งนั่นก็คือ เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก External Oral Suction (EOS) แบบที่ผมกำลังแนะนำครับ

H13 HEPA Filter ในเครื่อง EOS กรองอนุภาคขนาดเล็ก 0.3 ไมครอนได้ 99.97%

การจะมีเครื่องนี้ได้ คุณหมอก็ต้องตัดสินใจลงทุนเพิ่ม แต่คุณหมอ ต้องยอมรับความจริงว่าการใช้เครื่องดูดละอองฝอยฯ นี่คือเรื่องใหม่ ยังไม่มีการศึกษาวิจัยว่าเครื่องเหล่านั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอมากน้อยเพียงใด ยังไม่มีงานวิจัยรองรับ  นอกจากนั้น ยังจะต้องการศึกษาการทิศทางการฟุ้งกระจายของละอองฝอยที่เกิดขึ้น พุ่งแรง พุ่งน้อย การกระจายไปไกล ทิศทางแบบไหนที่เราจะต้องควบคุม กลัวว่าละอองกระเด็นไปติดผนัง ติดเพดาน เพื่อนำมาซึ่งวิธีการดูแลรักษาความสะอาดที่เหมาะสม สร้างความตระหนัก และจัดการด้านความสะอาดห้องทันตกรรมได้ดีขึ้น

ในส่วนคนไข้เอง หลายๆ คนอาจกังวลในเรื่องของเชื้อโรค หากต้องเข้ามาทำทันตกรรมที่โรงพยาบาล หรือคลีนิคในช่วงนี้ ⁣ การนำเครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปากมาใช้ ในห้องทำฟัน เพื่อลดการฟุ้งกระจายของละอองดังกล่าวในระหว่างการทำทันตกรรม รวมถึงลดโอกาสการติดเชื้อ ก็จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้อีกระดับนึง ครับ

ภาพแสดงตัวอย่างละอองฝอยฟุ้งกระจาย จากการทำหัตถการ กรอฟันด้วยด้ามกรอเร็ว และ หัวขูดหินน้ำลาย

เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก (External Oral Suction / Extraoral Dental Suction ) ยังเป็นเครื่องมือช่วยที่สำคัญ ในการรื้อวัสดุอุดฟันสีเงิน (อมัลกัม) โดยเฉพาะผู้ที่ตรวจพบว่ามีโลหะหนักในเลือด เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปากจะตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของปากผู้รับบริการ ทำหน้าที่กำจัดไอระเหยของปรอทในขณะที่ทันตแพทย์กำลังกรอหรือรื้อวัสดุอุดฟันอันเดิมออก โดยมีการใช้ร่วมกับท่อออกซิเจนซึ่งติดตั้งไว้ที่จมูกของผู้รับบริการ เพื่อป้องกันการหายใจเอาไอปรอทเข้าไป ⁣อีกด้วยครับ

เครื่อง External Oral Suction ของ RUIWAN นี้ทำความสะอาดง่ายด้วยครับ เพราะเมื่อเราใช้เครื่องดูด ละอองต่างๆ เศษต่างๆ ก้อาจจะมีติดค้างตามหัวดูด ตามท่อข้อต่อต่างๆ ก่อนที่จะไปถึงกรองชั้นแรก ดังนั้นนอกจากที่เราจะต้องทำความสะอาดกรอง Filter แล้ว แขนดูด หัวดูด เราก็ต้องถอดออกมาแช่น้ำยาห่าเชื้อ ทำความสะอาดด้วยนะครับ ซึ่งทั้งปากครอบหัวดูด แขนข้อต่อท่อดูด ของ RUIWAN ทุกท่อนสามารถถอดออกมามาแช่น้ำยาทำความสะอาดได้อย่างอิสระครับ อ้อ..ผู้ที่ทำความสะอาดท่อดูด และ Filter ต่างๆ ต้องใส่ถุงมือ หน้ากาก ชุด PPE เพื่อความปลอดภัยป้องกันการปนเปื้อนเชื้อด้วยนะครับ

แนะนำการใช้งาน การทำความสะอาด การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก ให้กับคุณหมอ และผู้ช่วยฯ

เพิ่มเติม : คลินิคศัลยกรรมความงาม ก็สามารถใช้เครื่อง External Suction Unit นี้ ดูดควัน กลิ่นใหม้ ขณะที่ทำศัลยกรรมเลเซอร์ผิวหนัง ได้ด้วยครับ

เห็นข้อดีของเครื่อง เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก EOS กันแล้ว คุณหมอท่านใดอยากได้เร่งด่วน ติดต่อคุณกัมปนาถ เลยครับ ของดี ราคาไม่แพง จัดจำหน่ายโดยบริษัท บริการหลังการขายเยี่ยม อะไหล่มีรองรับยาวนาน เพราะบริษัทฯ นำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรงครับ

ส่งมอบ และแนะนำวิธีการเปลี่ยน Filter เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก รุ่น RD-80 ให้กับหน่วยทันตกรรม สถานพยาบาล
เครื่องฟอกอากาศ ระดับใช้งานทางการแพทย์ (Medical Grade) สำหรับห้องทันตกรรม โรงพยาบาล และคลีนิค

คุณกัมปนาถ Hotline : 097-1524554

Life Protect Co.,Ltd. Office : 02-9294345 , 02-9294346

id Line : Lphotline

www.Lifeprotect.co.th

email: kumpanat.LPC@gmail.com

ล้อเลื่อนฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงรังสี UV-C ชนิด 2 แขน ” Philips” UV-C Trolley Double Arm.